Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 โทรคมนาคม: ความสับสนของผู้ตรวจการแผ่นดินในการฟ้องคดี 3จี
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2694
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PapaDe'LaKing
Mobile Member
Mobile Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 01 Nov 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : โทรคมนาคม: ความสับสนของผู้ตรวจการแผ่นดินในการฟ้องคดี 3จี
วันที่โพสท์ : 13 Nov 2012 15:05  
ตอบโดยอ้างถึง  

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ : ความสับสนของผู้ตรวจการแผ่นดินในการฟ้องคดี 3จี

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระเขียนบทความ ชื่อ "ความสับสนของผู้ตรวจการแผ่นดินในการฟ้องคดี 3จี" กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นความเห็นเกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล 2.1 GHz หรือ 3จี ตามที่มีนายสุริยะใส กตะศิลา

ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน, นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.), นายชูยศ โอจงเพียร ตัวแทนสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค, น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังในนามส่วนตัว และ กมธ.ตรวจสอบเรื่องการทุจริตวุฒิสภา โดย น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ร้องให้ศาลปกครองพิจารณาและวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรการ 47 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรการ 45 ประกอบมาตรา 41 วรรค1 และวรรค 7 หรือไม่ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยขอให้ศาลปกครองได้มีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว สั่งห้ามการให้ใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่สำหรับ 3จี กับบริษัทเอกชน 3 ราย ที่ได้ประมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น

ทั้งนี้บทความนายวีรพัฒน์สรุปความว่า วันที่ 7 พฤศจิกายน ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนกรณีการประมูลคลื่น 3จี นั้นนายวีรพัฒน์มี ครม.เห็นแย้ง 6 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การฟ้องคดีและคำขอท้ายฟ้อง 2.การเลือกย่านความถี่ 3.การจัดชุดคลื่นความถี่ 4.การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 5.รายรับจากการประมูล และ 6.ความไม่ชัดเจนของคำฟ้อง

ทั้งนี้ ในประเด็นที่ 1.เรื่องการฟ้องคดีและคำขอท้ายฟ้องนั้น นายวีรพัฒน์เห็นว่า ในขั้นแรก ผู้ตรวจการแผ่นดินได้วินิจฉัยว่า กสทช.มิได้เป็นบุคคลตามนัย มาตรา 13(1)(ก) แห่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ในขั้นต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินกลับขอให้ศาลเพิกถอนประกาศของ กสทช. คำขอเช่นนั้นย่อมต้องอาศัยอำนาจตาม มาตรา 14(2) แห่งกฎหมายฉบับเดียวกัน โดยบัญญัติว่า กสทช.เป็นบุคคลใดตามมาตรา 13(1)(ก)

สำหรับประเด็นที่ 2 การเลือกย่านความถี่ นายวีรพัฒน์เห็นว่า แม้แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่า กสทช. หรือสำนักงานมีกฎกติกาอันใดที่ทำให้ทราบล่วงหน้าว่าผู้เข้าประมูลจะได้รับสิทธิเลือกย่านความถี่ไหน ขณะประเด็นที่ 3.การจัดชุดคลื่นความถี่ นายวีรพัฒน์เห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้นำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น "ภายหลังที่ กสทช. กำหนดหลักเกณฑ์และประกาศเชิญชวนให้มีการเข้าร่วมประมูล มาใช้อ้างแทนเหตุการณ์ที่คาดว่าควรจะรู้ก่อน? ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อน" การกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว

ประเด็นที่ 4.การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ผู้ตรวจการแผ่นดินอ้างในคำฟ้องทำนองเดิมว่าจำนวนผู้เข้าประมูล อยู่ในวิสัยของ กสทช. และสำนักงานจะประมาณการได้ล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็ไม่สามารถอธิบายถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ที่ กสทช. และสำนักงานจะประมาณการจำนวนผู้เข้าประมูลได้ล่วงหน้าได้ และหากประมาณการอย่างแค่บอกว่าต้องมีเฉพาะเอกชนรายใหญ่ 3 เจ้าที่เข้าประมูล ในท้ายที่สุด เอกชนรายเล็กอื่นๆ อาจร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินว่าถูกปิดกั้นการแข่งขันก็เป็นได้

ประเด็นที่ 5.รายรับจากการประมูล ผู้ตรวจการแผ่นดินตีความว่ารัฐให้ความสำคัญกับรายรับจากการประมูล แต่นายวีรพัฒน์เห็นว่าการนำเงิน "ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน" นั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่มุ่งหมายต่อการจัดทำบริการสาธารณะ และมิได้มุ่งหมายเพื่อสร้างกำไรหรือก่อรายได้แก่รัฐตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินอ้างแต่อย่างใด

"ยิ่งไปกว่านั้น คำฟ้องยังคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายตามมาตรา 45 ประกอบ มาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การจัดการประมูลไว้โดยเฉพาะเจาะจง โดยมิได้กล่าวถึงการสร้างรายได้หรือรายรับให้แก่รัฐ ตรงกันข้าม ประโยชน์ในทางการคลังและเศรษฐกิจอันแท้จริงนั้น ย่อมเกิดจากประโยชน์สูงสุดของประชาชนและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม อาทิ ความพร้อมของประเทศไทยในการแข่งขันกับต่างประเทศ การลดต้นทุนและประสิทธิภาพในการใช้บริการโทรคมนาคมของทุกภาคส่วน หรือ การลงทุนและสร้างรายได้ภาษีให้แก่รัฐในระยะยาว" นายวีรพัฒน์ระบุในบทความ

ประเด็นที่ 6.ความไม่ชัดเจนของคำฟ้อง นายวีรพัฒน์เห็นว่าข้อความในคำฟ้องแสดงให้เห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็ไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่ามีการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เพียงแต่ต้องการเสนอ "ความคาดหวัง" ให้ศาลพิจารณาว่าการกระทำของ กสทช. และสำนักงานนั้นมี "ความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร"

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 11:45:36 น.

http://www.matichon.co.th/news_detai...&subcatid=1200
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: