Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 'นที'เปิดแผนประมูลทีวีดิจิทัล 2มาตรฐานชัดๆ
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2357
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
siwawut00
Cool Member
Cool Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 07 Jan 2013
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : 'นที'เปิดแผนประมูลทีวีดิจิทัล 2มาตรฐานชัดๆ
วันที่โพสท์ : 27 May 2013 11:48  
ตอบโดยอ้างถึง  

เกณฑ์ประมูลไม่เน้นปั่น"ราคา"

พ.อ.นที กล่าวว่าการประมูลคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล จะมุ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความบันเทิง จากคลื่นฯสาธารณะ โดยเน้นคัดเลือก "ผู้ประกอบการ" ขนาดกลางและรายใหญ่ ที่มีศักยภาพและเงินทุนด้านการผลิตคอนเทนท์คุณภาพ ไม่เน้นการประมูลเพื่อสร้างรายได้สูงสุด เพราะเงินจากการประมูลทีวีดิจิทัล จะมอบให้กองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต่างจากเงินประมูลใบอนุญาต3จี ที่ต้องนำส่งภาครัฐ

ดังนั้นการประมูลทีวีดิจิทัล ในรูปแบบอี-ออคชั่น กำหนด "ระยะเวลา" การประมูลไว้ 60 นาที กำหนดการเคาะราคาเพิ่มขึ้น "รายครั้ง" ตามประเภทช่องรายการ โดยช่องเอชดีที่กำหนดราคาตั้งต้นช่องละ 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท ,ช่องวาไรตี้ SD ราคาตั้งต้นช่องละ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาท ,ช่องข่าว SD ราคาตั้งต้นช่องละ 220 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท ส่วนช่องเด็ก SD ราคาตั้งต้น ช่องละ 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 1 ล้านบาท คาดว่าใน 1 นาที สามารถเคาะราคาได้ถึง 20 ครั้ง

การกำหนดให้เคาะเพิ่มราคารายครั้ง เพื่อให้ผู้ประมูลเสนอราคาเพิ่มแบบเกาะกลุ่ม ผู้ที่ชนะการประมูลจะมีต้นทุนค่าใบอนุญาตไม่ต่างกัน ซึ่งต่างจากวิธีการยื่นซองประมูล ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจเสนอราคาที่ต่างกันมาก เช่น การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาต 3 อันดับแรกแบบยื่นซอง รายแรกอาจเสนอราคาที่ 2,000 ล้านบาท ,รายที่สองราคา 1,000 ล้านบาท และรายที่สาม 500 ล้านบาท จะเห็นว่าทั้ง 3 รายมีต้นทุนค่าไลเซ่นที่ต่างกันในอัตราสูง ส่งผลต่อการบริหารช่องทีวีดิจิทัลแน่นอน และ กสท.ไม่ต้องการเห็นการ "ทุ่มประมูล" ที่เสนอราคาต่างกันมากนัก โดยต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตครั้งนี้ มีต้นทุนค่าไลเซ่นใกล้เคียงกัน ราคาไม่สูง ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปพัฒนาการผลิตรายการที่มีคุณภาพ

"การเสนอราคาประมูลสูงต่ำ แตกต่างกันจนเกินไป จะทำให้ต้นทุนดำเนินการต่างกันมาก หากรายใดมีต้นทุนสูงเกินในที่สุด อาจทำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ หวังว่าต้นทุนค่าประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัลครั้งนี้ แต่ละรายจะเสนอราคาต่างกัน 1-2%" พ.อ.นที กล่าว

http://bit.ly/11pT9CR

---------------------------------------------------------------------------

พ.อ.นที 2 มาตรฐานไหมถ้าตอนประมูล 3 จีเมื่อตอนเป็นกทช. พ.อ.นทีต้องการปั่นราคา จึงควรจะเดินตามแนวทางเดิม ทำไม ดร.สมเกียรติ เก๋ หมอลี่ ไม่ออกมาด่า
จริงๆ telecom และ broadcast ไม่ต่างเลยเพราะถ้าได้เงินมากก็นำเข้าสู่กองทุนฯเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะไง และหมอลี่ทำไมเงียบ ไม่ออกมาต้าน ให้ราคาสูงๆล่ะ
ประมูลคลื่นเหมือนกันหลักการต้องเหมือนกัน ไม่ใช่ต่างกันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือเนอะ!!!!
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: