Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 กสทช.จ่องานเข้า หลังเดินหน้าลอยแพปล่อยซิมดับ
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11820
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : กสทช.จ่องานเข้า หลังเดินหน้าลอยแพปล่อยซิมดับ
วันที่โพสท์ : 14 Mar 2016 14:28  
ตอบโดยอ้างถึง  

เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติจ่อร้อง"สตง-คสช." ตรวจสอบมติบอร์ดกสทช. ลอยแพซิม 2 จีคลื่น 900 เดิมร่วม 9 ล้านเบอร์

จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)เมื่อวันที่ 14 มีนาคม2559 ได้มีมติรับรองการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมประมูลล็อตแรกของ บริษัททรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด พร้อมอนุมัติให้กสทช. ออกใบรับรองการประกอบกิจการโทรคมนาคม 4 จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกกะเฮิร์ตซ์(MHz) กับริษัทดังกล่าว กับให้มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ตามประกาศ กสทช.สิ้นสุด ซึ่งจะยังให้ผู้ใช้บริการมือถือ 2 จีบนคลื่น 900 MHz เดิมกว่า 8.8 ล้านเลขหมาย ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้นั้น

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แม้ว่าบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)หรือ เอไอเอส ผู้ให้บริการเดิมจะยื่นข้อเรียกร้องให้ กสทช.พิจารณาทบทวนการขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ 2 จีเดิมดังกล่าวออกไปอีก 3 เดือน จนถึงเดือนมิถุนายน 2559 นี้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่ยังคั่งค้างอยู่ในระบบกว่า 8.8 ล้านเลขหมายเร่งดำเนินการโอนย้ายเลขหมายไปยังเครือข่ายผู้ให้บริการรายอื่น แต่ก็มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) และ กสทช.จะยืนยันปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว โดยยืนยันว่ามาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่มีอยู่ต้องสิ้นสุดลง เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขการประมูล และประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่กำหนดเงื่อนเวลาเอาไว้ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่มีอยู่จะต้องสิ้นสุดลง เมื่อกสทช.ให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการรายใหม่แล้ว

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ข้ออ้างของ กสทช.ที่ยืนยันว่าไม่สามารถขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการออกไปได้อีก เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขการประมูล และกฎหมายกสทช.ไม่เปิดช่องให้กสทช.นำคลื่นที่มีอยู่ออกไปให้เอกชนรายใดใช้ได้โดยไม่มีการประมูล จึงอยู่นอกเหนืออำนาจที่กสทช.จะอนุมัติขยายมาตรการเยียวยาให้ได้ พร้อมกับยืนยันว่าที่ผ่านมา กทค.และกสทช.ได้เสนอมาตรการเยียวยาเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการมือถือระบบ 2 จีเดิมไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับแล้ว โดยให้บริษัทเอไอเอส บริษัททีโอที และทรูได้หารือแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ และถึงขั้นที่บริษัททรูเสนอให้เอไอเอสใช้คลื่นความถี่ 900 ที่บริษัทได้รับใบอนุญาตฟรี 3 เดือน เพื่อร่วมกันดูแลลูกค้าไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ แต่บริษัทเอไอเอสได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว จึงทำให้กสทช.ไม่มีทางเลือกอื่น

แหล่งข่าว กล่าวว่า ข้ออ้างของ กสทช.ที่ระบุว่าไม่มีหนทางเลือกอื่น จำเป็นต้องปล่อยให้ซิม 2 จี บางส่วนดับลงนั้นไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อเกิดปัญหาในลักษณะนี้ อย่างกรณีปัญหาที่ผู้ใช้บริการมือถือระบบ 1800 ของกสท.-ทรูมูฟ ในอดีตสิ้นสุดสัมปทาน และอยู่ระหว่างการประมูลเพื่ออกใบอนุญาตใหม่โดยยังคงมีผู้ใช้บริการค้างอยู่ในระบบมากกว่า 17 ล้านเลขมายนั้น กสทช.ก็เคยรายงานสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อขอรับนโยบายแก้ไขปัญหาจนนำมา ซึ่งการขยายมาตรการคุ้มครองครั้งแล้วครั้งเล่าที่กินเวลากว่า 2 ปีเศษ หรือกรณีการขอขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ2จี บนคลื่น900 ก่อนการประมูลเมื่อเดือนธันวาคม58 นั้น กสทช.เองก็เคยนำเรื่องรายงานปัญหาสุญญากาศที่เกิดขึ้นจากมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่ไม่สอดรับกับไทม์ไลน์การประมูลที่กำหนดไว้ จนต้องขอรับนโยบายแก้ไขปัญหาจากหัวหน้า คสช.เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับขึ้นมา ก่อนจะมีการขยายมาตรการคุ้มครองออกไปจนถึงปลายเดือนธันวา (22 ธันวาคม 2558)

"เหตุใดเมื่อปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไขให้สะเด็ดน้ำ เพราะมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่ กสทช.กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดเอาไว้ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการดำเนินธุรกิจ เพราะแม้จะออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้แก่ผู้ชนะการประมูลไปแล้ว แต่กว่าที่ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่จะสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อให้บริการได้อย่างครอบคลุมก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือนนับจากนี้ หรืออาจจะมากกว่า 1-2ปีขึ้นไป เพราะปรากฏอยู่ในเงื่อนไขแนบท้ายการประมูล 4 จีที่กสทช.เป็นผู้ดำเนินการยกร่างมากับมือ แล้วเหตุใด กสทช.ถึงไปตอกฝาโลงกำหนดให้มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ต้องสิ้นสุดลงในทันทีที่ออกใบอนุญาต ในเมื่อรู้อยู่เต็มอกว่าจะทำให้เกิดสุญญากาศขึ้น และเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามคำสั่ง คสช.ที่ 94/2557 ที่ กสทช.ยังคงต้องถือปฏิบัติอยู่"

แหล่งข่าวยังระบุว่า การที่กสทช.อ้างว่าไม่มีหนทางเลือกอื่น นอกจากต้องยอมปล่อยให้เกิดปัญหาซิมดับไปนั้นไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเรื่องใหญ่ขนาดนี้ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันไปถึงผู้ใช้บริการมือถือนับล้านเครื่องที่มากกว่าครั้งก่อนเสียด้วยซ้ำ กสทช.กลับนิ่งเฉยไม่คิดจะรายงานสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เพื่อขอรับนโยบายได้อย่างไร ในเมื่อยังคงมีคำสั่ง คสช.ที่94/2557 ที่สั่งให้กสทช.ต้องให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการระบบเดิมไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านที่ว่านี้อยู่

"ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จะโทษเป็นความผิดของใครไม่ได้เลย แต่เกิดจากความผิดพลาดในการกำหนดเงื่อนเวลาการสิ้นสุดมาตรการคุ้มครอง ที่ไม่สอดคล้องกับไทม์ไลน์ของการประมูลมูล 4 จี ของกสทช.เองที่ย่อมต้องรู้อยู่แล้วว่าสมควรจะกำหนดมาตรการเยียวยาไปมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้บริการเดิม ซึ่งกสทช.ย่อมรู้ดีกว่าใครว่าผู้รับใบอนุญาตใหม่ดังกล่าว จะต้องใช้เวลาในการลงทุนสร้างและขยายเครือข่ายมากน้อยเพียงใด เพราะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนและขยายเครือข่ายตามข้อกำหนดที่ กสทช.ยกร่างมากับมือ"

ล่าสุดแหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เผยว่า เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ(สทช.)ได้เตรียมยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)และหัวหน้าคณะรักษารักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบมติกสทช.และพฤติกรรมของบอร์ด กทค และกสทช.ต่อกรณีดังกล่าวว่าเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติตาม ม.157 หรือไม่

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/690586
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: