Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 ใบเสร็จคอร์รัปชั่น!
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11894
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ใบเสร็จคอร์รัปชั่น!
วันที่โพสท์ : 19 Apr 2016 13:08  
ตอบโดยอ้างถึง  

จากประกาศหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 16/2559 ที่นายกฯในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตาม ม.44 ของรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) สั่งการให้ กสทช.จัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกกะเฮิร์ตซ์ (MHz) ช่วงคลื่นความถี่ 895-905 และ 940-950 MHz ใหม่อีกครั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 59 หลังจากบริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัดผู้ชนะการประมูลครั้งก่อนทิ้งประมูลไปไม่ยอมปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขใบอนุญาตจนทำให้รัฐเสียหาย

พร้อมให้ กสทช.ขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการมือถือ 2 จี 900 จากที่ต้องสิ้นสุดตามคำสั่งศาลปกครองในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาโดยให้ขยายมาตรการคุ้มครองไปถึงวันที่ 30 มิถุนายนหรือจนกว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แก่ผู้ชนะประมูลรายใหม่แล้ว

แม้จะเป็นหนทางผ่าทางตันปัญหาคาราคาซังจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ ?วิน-วิน? ต่อทุกฝ่าย และน่าจะเป็นหนทางออกที่เหมาะสมดีกว่าจะไฟเขียวให้ กสทช.อนุมัติให้จัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่เอไอเอสไปโดยตรงโดยไม่มีการประมูล หรือเสี่ยงให้ กสทช.ดำเนินการประมูลไปตามเงื่อนเวลาเดิมที่อาจจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการ 2 จีเดิมต้องถูกลอยแพ อีกทั้งรัฐเองก็ไม่เสียประโยชน์ เพราะการประมูลครั้งใหม่ได้

แต่หากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาหลักเกณฑ์การประมูลที่ กสทช.วางไว้ก่อนหน้าจะเห็นได้ว่าตามหลักเกณฑ์ประมูลเดิมของ กสทช.นั้น ได้ตัดสิทธิ์บริษัททรูไปแล้ว เพราะ กสทช.ได้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 ชุดหนึ่งไปแล้ว หากให้เข้าประมูลอีกอาจขัดประกาศเงื่อนไขประมูล 4 จีที่กำหนดไว้ให้ผู้ประกอบการแต่ละรายได้ใบอนุญาตเพียงใบเดียวเท่านั้น

แต่ก็กลับเป็นที่น่าสังเกตว่าประกาศ คสช.ฉบับดังกล่าวได้เปิดกว้างให้ผู้มีสิทธิ์ได้เข้าร่วมประมูลทุกรายรวมทั้งบริษัททรูด้วย ทั้งยังตั้งราคาประมูลตั้งต้นไว้สูงถึง 75,654 ล้านบาทเท่ากับราคาที่แจส โมบายเสนอไว้ โดยประธานคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายที่นายกฯมอบหมาย(รองนายกฯ นายวิษณุ เครืองาม) อ้างว่าเพื่อความเป็นธรรมในการประมูลและไม่ทำให้รัฐเสียบผลประโยชน์

อย่างไรก็ตาม การตั้งราคาประมูลที่สูงลิบลิ่วดังกล่าว ปฏิเสธไม่ได้ว่า อาจถูกมองว่าเป็นการ ?จัดฉากฮั้วราคา? เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนที่ทิ้งใบอนุญาตไปก่อนหน้า ไม่ให้ต้องถูกปรับหรือจ่ายชดเชยความเสียหายที่ทิ้งไว้ดูต่างหน้า

ดังจะเห็นได้จากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น JAS หรือหุ้นจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ล่าสุดในห้องค้า ที่นักวิเคราะห์ได้ตั้งราคาเป้าหมายล่าสุดไว้ที่ 5.60 บาทจากเดิมที่เคยให้ราคาไว้แค่ 0.18 สตางค์เมื่อครั้งชนะประมูล 4 จี อันเป็นผลมาจากธุรกิจ Fixed Broadband ที่เป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม ขณะที่ธุรกิจ Mobile Broadband ที่เคยเป็นแรงกดดันลดลงไปแล้ว แถมความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องจากการทิ้งประมูล 4 จีก็มีไม่มากหลังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศ คสช.ที่16/2559 ที่ให้ กสทช.จัดประมูลใหม่ในวันที่ 27 พฤษภาคม โดยกำหนดราคาตั้งต้นประมูลใหม่เท่าราคาที่แจสเคยเสนอไว้ ทำให้ไม่ต้องถูกไล่เบี้ยค่าเสียหายใดๆ เพิ่ม

ประกาศหัวหน้า คสช.ฉบับดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่าเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชนที่ทิ้งประมูลโดยตรง ขณะที่การเปิดกว้างให้บริษัททรูที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 900 ไปแล้วได้เข้าร่วมประมูลได้อีกนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชนที่ขาดคุณสมบัติให้เข้าร่วมประมูลโดยตรง

เพราะหากทรูที่รู้ตัวเองว่าขาดคุณสมบัติที่จะได้รับใบอนุญาตเพิ่มเติมอยู่แล้ว แต่ฉวยโอกาสนี้ตะบี้ตะบันเคาะราคาประมูลเช่นที่แจส โมบายดำเนินการไปก่อนหน้า แม้จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนรายหนึ่งรายใดโดยตรง

ยิ่งเมื่อได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธฺการ กสทช.ที่ได้เข้าชี้แจงมาตรการรองรับการประมูลและคุ้มครองผู้ใช้บริการระหว่างประมูลต่อรองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลปัญหานี้ โดยเลขา กสทช.ระบุว่า รองนายกฯได้ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องลงนามในความร่วมมือ (MOU) เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับการประมูลรอบใหม่ รวมถึงการลดความขัดแย้งที่เกี่ยวกับการขอขยายมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ 2 จีเดิม พร้อมขอให้ 2 บริษัทสื่อสารยุติการแข่งขันด้านราคาภายหลังการประมูล ก่อนจะเสนอนายกฯใช้ ม.44

คำถามก็คือ ทำไมรองนายกฯต้องออกหน้าลงมาอย่าศึกในครั้งนี้ ทั้งที่การแข่งขันหรือจัดโปรโมชั่นของค่ายมือถือนั้นถือว่าเป็นประโยชน์กับประชาชน ?เป็นประกาศิตที่ยิ่งกว่าจดหมายน้อย? หรือไม่? ถึงต้องอาศัยอำนาจพิเศษ คสช. ที่ว่านี้เข้ามาอย่าศึก!

ยิ่งเมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลในเชิงลึกและพบว่า บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของประธานคณะทำงานพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่เสนอให้นายกฯได้ใช้อำนาจพิเศษตาม ม.44 จัดประมูลด้วยวิธีพิเศษครั้งนี้ มีชื่อของ ?ดร.โอม? ที่ทำหน้าที่เป็นที่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์และยังทำหน้าที่เป็นฝ่ายกฎหมายของทรูคอร์ปอเรชั่น โดยตรงด้วยแล้ว

ทำให้ยากจะปฏิเสธว่าเบื้องหลังคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2559 ครั้งนี้ เต็มไปด้วยผลประโยชน์แอบแฝงและ มี Conflict of Interest โดยตรง! ถือเป็น ?ใบเสร็จคอร์รัปชั่น? ที่ทุกฝ่ายถามหากันอยู่หรือไม่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.และ สตง.คงต้องล้วงลูกลงไปตรวจสอบกันเอาเอง!
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: