Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 นักธรณีฟันธง คลื่นยักษ์ “สึนามิ”มาอีกแน่
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » SP Club - ห้องนั่งเล่น :)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 3934
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
เชษ
Admin
Admin
Year's Star



สมัครเมื่อ: 30 Aug 2003
จังหวัด: อโยธยาศรีรามเทพนคร
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ???????????? ?????????? ????????????????
วันที่โพสท์ : 19 Sep 2005 14:15  
ตอบโดยอ้างถึง  

2 นักธรณีวิทยา มอ.หาดใหญ่ ฟันธงเกิดคลื่นสึนามิอีกแน่ หลังศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 150 ปี ชี้เหตุแผ่นดินไหวในช่วงที่ผ่านมา ทำคนในพื้นที่เหมือนกระต่ายตื่นตูม หนุนรัฐเดินหน้าติดตั้งระบบทุ่นเตือนภัย


เมื่อวันที่ 18 กันยายน ผศ.ดร.วรวุฒิ โลหะวิจารณ์ และ Dr.Helmut Duerrast อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สึนามิ” พัดเข้าถล่มในพื้นที่ 6 จังหวัดฝั่งอันดามันของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่ง

ได้สร้างความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก และผลกระทบที่ตามมาคือ ความรู้สึกหวาดกลัวและหวาดผวาของคนในพื้นที่

ล่าสุด หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์เข้าถล่มในครั้งนั้นแล้ว ก็ยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ เกิดความหวาดกลัว และหวาดผวาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการประกาศเตือนจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติว่า ได้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวตามหมู่เกาะต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย และมีโอกาสจะเกิดเหตุคลื่นสึนามิสูง ทำให้ต้องอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล ให้ขึ้นไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยมาแล้วหลายครั้ง แต่ผลสรุปสุดท้ายคือ ไม่ได้เกิดปรากฎการณ์ขึ้น ตามคำประกาศเตือนจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติแต่อย่างใด

"การประกาศเตือนในลักษณะดังกล่าว เป็นการกระทำที่ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตื่นตระหนก และต้องได้รับบาดเจ็บไปหลายราย จนเปรียบเสมือนเป็นกระต่ายตื่นตูม”

อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มอ.หาดใหญ่ ทั้ง 2 ท่าน กล่าวอีกว่า ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น อยากให้ทุกคนรับทราบว่า มันเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เพราะมันเป็นการยกตัวของแผ่นดิน หรือเปลือกโลกที่เคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลานั่นเอง แต่ถ้าหากปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ก็จะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ซึ่งเปรียบเสมือนกับการโยนก้อนหินลงในน้ำ หากก้อนหินมีขนาดใหญ่และทิ้งลงไปด้วยความเร็ว น้ำก็จะกระเพื่อมสูงขึ้นและมีความแรงมาก

และอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ได้นอกเหนือจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว คือ เหตุการณ์อุกาบาตขนาดใหญ่ที่ตกลงมาจากท้องฟ้า แล้วไปตกลงในทะเลด้วยความเร็วและแรง ก็อาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิ ได้เช่นเดียวกัน หรือแม้แต่เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด ที่มีเศษหินขนาดใหญ่ ตกลงในท้องทะเลด้วยความเร็วและแรง ก็จะทำให้เกิดภัยพิบัติในลักษณะนี้ได้เช่นเดียวกัน แต่โดยสถิติแล้ว การเกิดคลื่นสึนามิ มักจะพบมากจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเป็นส่วนใหญ่

"ซึ่งได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ย้อนหลังไปเมื่อ 100-150 ปีที่แล้ว และพบข้อมูลได้บันทึกไว้ว่า มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และดูเหมือนว่าเหตุการณ์คลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์ที่ครบรอบการเกิดของมันอีกครั้ง และทราบว่า ปรากฏการณ์ในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตกาลนับล้านๆ ปี อีกทั้งข้อมูลทั่วไป พบว่า การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก จะเกิดขึ้นประมาณ 6 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลย้อนหลังดังกล่าว สามารถยืนยันได้ว่า เหตุการณ์คลื่นสึนามิ จะเกิดขึ้นอีกแน่นอน เพียงแต่ยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร และบริเวณใด แต่ในเบื้องต้นคาดว่า คงจะเกิดในแนวการซ้อนตัวของเปลือกโลก ซึ่ง 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน ก็อยู่ในแนวที่ว่านี้ด้วย" 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ระบุ

ผศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวถึงการติดตั้งระบบทุ่นเตือนภัยในทะเลฝั่งอันดามันว่า หากรัฐบาลสร้างทุ่นขึ้นมาแล้ว ก็สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ส่วนหนึ่ง เพราะทุกคนสามารถสังเกตความผิดปกติของท้องทะเลได้ อีกทั้ง ทุ่นเตือนภัยดังกล่าวจะส่งคลื่นสัญญาณผ่านดาวเทียม ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับรู้ถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สามารถสั่งอพยพผู้คนให้ไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยได้อย่างทันท่วงที ประชาชนเองก็จะได้ไม่เกิดความสับสนเหมือนกับในช่วงที่ผ่านๆ มา

"สิ่งที่อยากแนะนำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน ควรหาทางลดความเสียหายให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากไม่สามารถมีผู้ใดกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ของธรรมชาติได้ อีกทั้งอยากให้ทุกคนได้ตระหนักว่า เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ก็สามารถเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิได้ทุกครั้ง ดังนั้น ทุกคนต้องรู้จักการสังเกตให้มากขึ้น เช่น ดูจากระดับน้ำทะเลที่ขึ้นลงผิดปกติ ความแปรปรวนของสภาพทางอากาศ และต้องพยายามติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลาด้วย” ผศ.ดร.วรวุฒิ กล่าว
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » SP Club - ห้องนั่งเล่น :)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: