Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 ทีโอที...เงื้อง่าราคาแพง
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11416
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ทีโอที...เงื้อง่าราคาแพง
วันที่โพสท์ : 24 Nov 2015 14:15  
ตอบโดยอ้างถึง  

ยังคงเป็น Talk of the Town ที่ยังกล่าวขวัญกันไม่เสร็จ กับการประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา

ผลการประมูลที่ได้ทำเอาแวดวงสื่อสารโทรคมนาคมไทยลุ้นระทึกแทบหัวใจวาย เมื่อบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมน้อย-ใหญ่เปิดศึกห้ำหั่นชิงดำกันดุเดือดข้ามวันข้ามคืน ก่อนจะปิดฉากลงเอาในช่วงค่ำของอีกวันกว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส และบริษัททรูมูฟ ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น ในเครือทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยเม็ดเงินค่าธรรมเนียมสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 80,778 ล้านบาท

ทำให้หลายฝ่ายตั้งความหวังเอาไว้สูงยิ่งว่าการประมูล 4จี อีก 2 ใบอนุญาตบนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ คงจะดุเดือดเลือดพล่านเช่นเดียวกับคลื่นความถี่ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์แน่ และมีการประเมินกันเบื้องต้น หากบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมไล่บี้ราคาปะมูลกันไปแค่ 75,000-80,000 ล้านบาท

รัฐบาลจะได้เม็ดเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 4จี จากการประมูล 2 ครั้ง 4 ใบอนุญาตนี้ ไม่ต่ำกว่า 150,000-160,000 ล้านบาทขึ้นไปเลยทีเดียว จุดประกายความหวังในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่ทุกฝ่ายกำลังโหยหาโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่อย่างแท้จริง!

เห็นแล้วก็ทำให้นึกย้อนไปถึง ความพยายามของบริษัท ทีโอที และกสท โทรคมนาคม 2 รัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารของรัฐ ที่ก่อนหน้าพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะขัดขวางการประมูล 4 จี ในครั้งนี้ ด้วยต้องการกดดันให้รัฐจัดสรรคลื่นความถี่ที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานเหล่านี้ไปให้แก่หน่วยงานโดยตรง

แน่นอนว่าผลการประมูลคลื่น 4จี ที่ออกมาข้างต้น คงทำให้เส้นทางที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะกดดันให้รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ตรงไปยังหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองนั้นต้อง ?ปิดฉาก? ลงไปโดยปริยาย ขณะที่ล่าสุดศาลปกครองก็ได้ยกฟ้องเรื่องที่สหภาพ รสก.กสท.ยื่นฟ้อง กสทช.ให้ระงับการประมูล 4จี บนคลื่น 1800 MHz นี้ไปแล้ว

นั่นจึงยิ่งทำให้เส้นทางการฟื้นฟูกิจการของทีโอที และกสท โทรคมนาคม หรือแคท ที่ล่าสุด ?คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ? (คนร.) หรือ ?ซูเปอร์บอร์ด? ขีดเส้นให้เร่งจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการระยะสั้นให้ต้นสังกัดในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ และต้องดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายในเดือนมีนาคม 59

ทำให้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมของไทย ?นั่งไม่ติด?

ล่าสุดนี้ฝ่ายบริหารทีโอทีก็รุกคืบที่จะหาทางนำเอาคลื่นความถี่ 1500 MHz มาให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมอัจฉริยะ และมือถือควบคู่ไปกับคลื่น 2100 และ 2300 MHz เพื่อให้บริการมือถือ 3จี และ 4จี ทดแทนคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ กสทช.เตรียมนำออกประมูลให้ใบอนุญาต ด้วยความคาดหวังว่าคลื่นทั้งหมดที่ทีโอทีมีอยู่นี้ จะสามารถสร้างรายได้ให้ทีโอทีอยู่รอดได้

แต่ก็ตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ทีโอทีจะต้องเร่งหา ?พันธมิตรธุรกิจ? โดยเร็ว หลังจากพิจารณาเรื่องนี้มาข้ามปีตั้งแต่ปลายปี 57 จนล่วงมาถึงวันนี้ ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีได้อนุมัติให้ทำสัญญาธุรกิจกับเอไอเอสแล้ว โดยคาดว่า จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ในเดือน ธ.ค.นี้ ก่อนการประมูล 4จี บนคลื่น 900 MHz จะมีขึ้น

เพราะแม้ทีโอที่จะมีคลื่นความถี่ที่มีค่าอยู่ในมือ แต่จุดอ่อนขององค์กรที่ขาดความเชี่ยวชาญในเรื่องของการทำตลาด ไม่สามารถจะแข่งขันกับเอกชนได้นั้น หนทางรอดจึงเหลืออยู่ก็แต่การเร่งแสวงหาพันธมิตรธุรกิจเข้ามาเท่านั้น และต้องเร่งรัดดำเนินการก่อนการประมูล 4จี บนคลื่น 900 จะแล้วเสร็จด้วย

เพราะหากยังคงมะงุมมะงาหราเงื้อง่าราคาแพงอยู่อีก หากบริษัทเอกชนหันไปลงทุนเองหรือเช่าใช้โครงข่ายเอกชนด้วยกันเองแล้ว ก็เห็นทีอนาคตหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีแหงนี้จะล้มทั้งยืนสมใจอยากแน่
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: