Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 ปัดฝุ่นประมูล 900 MHz กับ...วาระซ่อนเร้น?!!
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 12083
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ปัดฝุ่นประมูล 900 MHz กับ...วาระซ่อนเร้น?!!
วันที่โพสท์ : 02 Apr 2016 09:30  
ตอบโดยอ้างถึง  

ยังคงเป็นที่น่าจับตามองกับการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกกะเฮิร์ตซ์ (MHz) ของ กสทช.ที่ปัดฝุ่นนำคลื่นความถี่ดังกล่าวกลับมาประมูลกันใหม่ หลังจากถูก "แจส โมบาย" ลูบคมเบี้ยวจ่ายเงินประมูล 75,654 ล้านบาทไปครั้งก่อน

ครั้งนี้ กสทช.ตีปี๊บยืนยันกำหนดมาตรการอันเข้มงวดตีกันไม่ให้บริษัทสื่อสารเข้ามาป่วนงานประมูล หรือหวังจับเสือมือเปล่าได้อีกแล้ว โดยกำหนดเงื่อนไขที่นอกจากจะตั้งราคาประมูลตั้งต้นไว้สูงลิ่ว 75,000 ล้านบาท แล้วยังกำหนดให้บริษัทเอกชนต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสูงถึง 3,750 ล้านบาท และหากเบี้ยประมูลยังจะถูกไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหาย 13,000 ล้านบาท รวมกว่า 15,000 ล้านบาทเศษ

เป็นที่น่าสังเกตว่า การตีปี๊บจัดประมูลใหม่ครั้งนี้กลับไม่มีใครตั้งข้อสังเกตเลยว่า....การที่ กสทช.ไปตั้งเกณฑ์ประมูลใหม่ที่สูงลิ่วถึง 75,000 ล้านบาท เท่ากับที่แจส ทิ้งใบอนุญาตไปนั้น ทำไปเพื่ออะไร? มันเป็นบทลงโทษแจสโมบายที่ทิ้งใบอนุญาตตรงไหนหรือ? มาตรการลงโทษแจสที่สร้างความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาทนั้นคืออะไร? นอกจากริบหลักประกันการประมูล 644 ล้านบาทแล้ว และการตั้งกรรมการไล่เบี้ยค่าเสียหายอื้นๆ ที่ยังไม่รู้จะออกหมู่หรือจ่า...

เพราะแทนที่จะกำหนดราคาประมูลปกติอย่างที่ระเบียบจัดซื้อพัสดุของภาครัฐโดยทั่วไป ที่หากผู้ประมูลได้ทิ้งงานไปจนทำให้รัฐเสียหายและต้องประมูลใหม่ ส่วนต่างความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องไปไล่เบี้ยเอากับผู้ทิ้งงาน แม้แต่ประมูลทะเบียนเลขสวยของกรมการขนส่งทางบก ที่หากผู้ประมูลเลขสวยที่ชนะประมูลเลขสวยไปอย่าง 1กก 8888 ราคา 5 ล้าน หรือ 1กง 9999 ราคา 10 ล้านบาท ถึงเวลากลับเบี้ยวไม่มารับป้ายทะเบียน จนกรมต้องนำกลับไปเปิดประมูลใหม่ ไม่ว่าจะออกมาเท่าไหร่ส่วนต่างที่เกิดขึ้นนั้น กรมขนส่งทางบกจะไปไล่เบี้ยเอากับผู้ที่ทิ้งการประมูลครั้งก่อนในทันทีนอกเหนือจากการริบหลักประกันการประมูล

แต่ในส่วนของ กสทช.นอกจากการกำหนดเงื่อนไขริบหลักประกันการประมูลและตั้งคณะทำงานคำนวณความเสียหายที่ดำเนินการไป ซึ่งไม่รู้จะมีอำนาจดำเนินการได้หรือไม่นั้น ในส่วนของ "ส่วนต่าง" ค่าธรรมเนียมประมูลที่ควรต้องไปดำเนินการไล่เบี้ยเอากับผู้ทิ้งใบอนุญาตนั้น กสทช.กลับไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้เอาไว้แม้แต่น้อย เพราะไปตั้งราคาตั้งต้นประมูลใหม่ในราคาเดียวกับที่แจสทิ้งใบอนุญาตไปซะงั้น!

ยิ่งเมื่อย้อนกลับไปพิจารณาราคาประมูลครั้งก่อนที่แจสชนะประมูลนั้นก็ยุ่งทำให้สังคม "กังขา" เบื้องหน้าเบื้องหลังของการเคาะราคาประมูลของแจสหนนั้นน่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นหรือไม่? เพราะราคาประมูลคลื่น 900 ชุดที่ 1 ที่แจสชนะประมูลไปนั้น ปรากฏว่าเมื่อไล่เรียงดูแล้วกลับพบว่า บริษัทแจส โมบายนั้นชนะประมูลไปตั้งแต่ 70,000 ล้านแล้ว ทิ้งห่างรายที่ 2 ที่เคาะราคาแข่งซึ่งถอดใจไปตั้งแต่ 62,000 ล้านบาทแล้ว สำหรับเอไอเอส และ 70,000 ล้านบาทสำหรับ "ดีแทค" ทำให้เกิดข้อสงสัยแล้วแจสไปเคาะราคา จนทะลุ 75,654 ล้านบาทไปเพื่ออะไร? ชนะประมูลไปแล้วทำไมยังตะบี้ตะบันเคาะราคาให้ตัวเองอยู่อีก!

จุดนี้จึงทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อกังขารับใบสั่งใครมาหรือไม่? หรือมี "ไอ้โม่ง Invisible Hand" ชักใยอยู่เบื้องหลังเกมป่วนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยหรือไม่ หรือมีรายการ "จัดฮั้วประมูล" ในครั้งนั้นหรือไม่โดยไม่ต้องถูกลงโทษ? ทั้งที่ตามปกติ ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างทั่วไปหรือระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุนั้น เมื่อ กสทช.ต้องนำคลื่นไปเปิดประมูลใหม่ ไม่ว่าจะออกมาเท่าไร ส่วนต่างที่เกิดขึ้น กสทช.จะต้องไปไล่เบี้ยเอากับผู้ทิ้งใบอนุญาตที่ว่านี้ และยิ่งเมื่อได้พิจารณาพฤติกรรมของ กสทช.ต่อการประมูลในครั้งที่ผ่านมาที่พยายามจะเอื้อประโยชน์แก่ "ทรู" ในทุกรูปแบบทั้งการมีมติให้มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเดิมสิ้นสุดลงในทันที โดยไม่ใส่ใจเลยว่าขัดประกาศ กสทช.ที่ออกมาเองหรือไม่?

หรือความพยายามจะให้มีการโอนย้ายเลขหมายไปยังเครือข่ายผู้ใช้บริการรายนี้ พยายามบีบให้ผู้ใช้บริการรายเดิมไปใช้คลื่นความถี่ที่ทรูได้ใบอนุญาตไปในทุกรูปแบบ ทั้งที่หมิ่นเหม่ขัดกฎหมาย รวมทั้งล่าสุดที่ กสทช.เตรียมเปิดประมูลใหม่ ก็ยังเปิดทางให้ทรูได้สิทธิเข้าร่วมประมูลได้อีกทั้งที่ขัดเงื่อนไข ประกาศ กสทช.เองที่กำหนดให้ผู้ชนะประมูลใบอนุญาตมีสิทธิได้เพียง 1 ใบอนุญาตเท่านั้น

เรื่องอื้อฉาวขนาดนี้ ก็ไม่รู้หน่วยงาน ปปช.-สตง.จะยังนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร? เหตุใดถึงไม่มีการขยับทั้งที่ผลประโยชน์ของรัฐเสียหายกว่า 75,000 ล้านบาท!!!
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: