Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 การเมืองล้วงลูกตั้งผู้ว่าประปาภูมิภาค (กปภ.)
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11480
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : การเมืองล้วงลูกตั้งผู้ว่าประปาภูมิภาค (กปภ.)
วันที่โพสท์ : 16 May 2016 11:28  
ตอบโดยอ้างถึง  

การเมืองล้วงลูกตั้งผู้ว่าประปาภูมิภาค (กปภ.) 6 เดือนยังเคาะไม่ลงตัว หลังตัวเต็งอดีตผู้ว่า รฟม.ถูกมือดีปล่อยข่าวใกล้ชิดขั้วอำนาจเก่า ขณะนักวิชาการด้านน้ำเลื่องชื่อส่อเจอปัญหาเรื่องคุณสมบัติแถมเคยขั้นเวที กปปส.ทำเอาบอร์ดผวาทำงานข้ามหัว

แหล่งข่าวจากการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดเผยถึงการสรรหาผู้ว่า กปภ.คนใหม่แทนนางรัตนา กิจวรรณ ที่ครบวาระไปตั้งแต่กลางเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการ กปภ.ที่มีนายจิรชัย มูลทองโร่ย ผู้ตรวจสำนักนายกฯ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มี พลเอกวิชิต ศรีประเสริฐ เป็นประธาน และดำเนินการสรรหามาตั้งแต่กลางเดือน พ.ย.2558 แต่จนถึงขณะนี้กว่า 6 เดือนแล้วยังไม่สามารถสรุปผลการสรรหาได้

ล่าสุดคณะกรรมการสรรหาได้ประกาศผลการคัดเลือกว่าที่ผู้ว่า กปภ.แล้วจำนวน 3 คนจากที่ยื่นใบสมัคร 6 คน ประกอบด้วยนายเสรี ศุภราทิตย์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และนายสมชาย มนต์บุรีนนท์ โดยมีข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาจะเชิญนายเสรีเข้ามาเจรจาเงื่อนไขผลตอบแทนก่อนเป็นอันดับแรก หากไม่มีปัญหาก็คาดว่าจะได้รับการเสนอชื่อเข้าบอร์ด กปภ.ต่อไป

อย่างไรก็ตามมีกระแสข่าวสะพัดภายในว่าผลการสรรหารอบแรกที่ออกมา มีข่าวว่านายยงสิทธิ์มีคะแนนนำโด่งผู้สมัครรายอื่นๆ แต่ถูกมือดีปล่อยข่าวว่ามีความใกล้ชิดกับขั้วอำนาจเก่า และมีการกดดันคณะกรรมการสรรหาจนนำมาซึ่งการพลิกผลการสรรหาล่าสุด แต่ตัวนายเสรีเองก็เผชิญปัญหาในเรื่องคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เนื่องจากในเงื่อนไขสรรหานั้นกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี หรือรองหัวหน้าส่วนราชการเทียบเท่ารองอธิบดี กรณีมหาวิทยาลัยของรัฐต้องมีตำแหน่งคณบดีหรือรองอธิการบดีขึ้นไป

หรือกรณีที่เป็นผู้บริหารของภาคเอกชนจะต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 3,500 ล้านบาทต่อปี แต่กรณีนายเสรีนั้นแม้จะอ้างว่าเป็นอดีตคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต และกรรมาการบอร์ด กฟภ.มาก่อน แต่ไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ รวมทั้ง ม.รังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 3,500 ล้านบาทด้วย ทำให้เกิดปัญหาว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่อีก ขณะที่ผู้บริหารที่เป็นลูกหม้อใน กปภ.ที่ยื่นสมัครเข้ารับการสรรหาด้วยก็กลับไม่ได้รับคัดเลือก

?ที่สำคัญมีความพยายามในการบีบให้คณะกรรมการสรรหาและบอร์ดให้การรับรองผลการสรรหาครั้งนี้ โดยอ้างว่านายเสรีเคยขึ้นเวที กปปส.ที่โจมตีการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดก่อนว่าผิดพลาด และมีส่วนในการกดดันจนรัฐบาลชุดก่อนเผชิญวิกฤติศรัทธาด้วย ทำให้บอร์ด กฟภ.เองอยู่ในภาวะที่อึดอัดเพราะหากต้องทำงานร่วมกันก็เชื่อแน่ว่าจะไม่สามารถกำกับดูแลนโยบายฝ่ายบริหารที่อาจทำงานข้ามหัวได้?
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: