Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 จากดาวเทียมถึงสัมปทาน ?กสท-ทรูมูฟ? เป็นอุทาหรณ์ที่ต้องจดจำ
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11681
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : จากดาวเทียมถึงสัมปทาน ?กสท-ทรูมูฟ? เป็นอุทาหรณ์ที่ต้องจดจำ
วันที่โพสท์ : 05 Sep 2016 14:42  
ตอบโดยอ้างถึง  

กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาจำคุก ?หมอเลี้ยบ -นพ.สุรพงษ์ สิบวงศ์ลี? อดีต รมต.ไอซีทีในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากกรณีอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม ยินยอมให้บริษัทชินคอร์ปลดสัดส่วนการถือหุ้นจาก 51% ลงมาเหลือ 40% ทำให้รัฐมีความเสี่ยงที่จะถูกครอบงำกิจการจากต่างชาติ

แม้เจ้าตัวจะอ้างว่ามีการนำเสนอเรื่องต่อสำนักงานอัยการสูงสุดถึง 2 ครั้ง และได้นำเสนอต่อ ครม.แล้ว แต่ถูกนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ ครม.ในขณะนั้นมีหนังสือตอบกลับมาว่า เรื่องไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำเสนอ ครม.จึงส่งเรื่องคืน และแม้ผลแห่งการแก้ไขสัญญาจะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ทำให้รัฐเสียหาย ยังคงได้ค่าสัมปทานและทรัพย์สินตามสัญญา แต่ศาลเห็นว่าอดีต รมต.มีการปกปิดข้อเท็จจริง และไม่มีการทำข้อเสนอเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียนำเสนอขอความเห็นชอบต่อ ครม.จึงตัดสินว่า มีความผิดตาม ม.157 ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา

เห็นแล้วก็ให้นึกเลยไปถึงกรณีการทำสัญญาทำการตลาดมือถือ 3 จี ?กสท-ทรูมูฟ? เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จีบนคลื่น 850 MHz ด้วยเทคโนโลยี HSPA ที่หลายต่อหลายหน่วยงานเคยล้วงลูกเข้ามาตรวจสอบและชี้มูลความผิด รวมทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็เคยตั้งอนุกรรมการไต่สวนที่มี ศ.เมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานไปตั้งแต่ปีมะโว้เมื่อ 3-4 ปีมาแล้ว ก่อนที่จะสรุปผลไต่สวนแถลงกันเป็นวรรคเป็นเวรเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 55 ว่ากระทำผิดกฎหมายหลายฉบับ ทั้งยังมีมติให้ดำเนินการกล่าวโทษอดีตผู้บริหาร กสท.ในเวลานั้น รวมทั้งบอร์ดกราวรูด ฐานละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นกัน

แต่เชื่อหรือไม่ว่า ล่วงเข้ามาวันนี้กว่า 4 ปีเข้าไปแล้ว ผลไต่สวนของอนุกรรมการ ป.ป.ช.ที่ว่ากลับ ?หายเข้ากลีบเมฆ? ยังส่งไปไม่ถึงมือคณะ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหม่ไปแล้วก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีการรื้อฟื้นผลตรวจสอบคดีคั่งค้างที่ว่านี้ขึ้นมาไล่เบี้ยกันใดๆ

หนักข้อเข้าอดีตผู้บริหารบริษัท กสท.ที่ว่านั้น ยังได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาล คสช.ชุดนี้ให้เป็นที่ปรึกษา รมต.คมนาคมด้วยซะอีก ทั้งที่นายกฯและหัวหน้า คสช.ประกาศลั่นรัฐบาลปฏิรูป คสช.ชุดนี้มีนโยบายมุ่งมั่นในอันที่จะขจัดทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ประเภทคนโกงต้องไม่มีที่ยืนในสังคม แต่วันดีคืนดี ครม.ก็กลับแต่งตั้งอดีตผู้บริหาร กสท.ที่ยังมีคดีความอยู่ใน ป.ป.ช.เข้ามาเป็นที่ปรึกษา รมต.เต็มตัวและเพิ่งจะลาออกไปหลังถูกสื่อขุดคุ้ยคดีความเก่าออกมาตีแผ่เมื่อไม่นานมานี้เอง

นัยว่าล่าสุดนี้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เองก็เพิ่งจะสรุปความเสียหายจากการที่ กสท.เสียรู้ไปทำสัญญาทำการตลาดมือถือ 3 จี ดังกล่าวว่า ทำให้รัฐ และ กสท.เสียหายไปกว่า 20,000 ล้าน

ก็ไม่รู้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันที่ขยันขุดคุ้ยคดีความเก่าขึ้นมาไล่เบี้ยเป็นรายวัน จะกล้าปัดฝุ่นแฟ้มเจ้ากรรมที่ว่านี้ขึ้นมาไล่เบี้ยอยู่หรือไม่ หรือทำไมเรื่องที่อนุกรรมการไต่สวนสรุปผลสอบสวนไปตั้งแต่ปีมะโว้ถึงหายไปจากสารระบบเอาได้

จะให้ดีคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่คิดจะล้วงลูกตรวจสอบไปถึงกรณีการยกเลิกพระราชกำหนดจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมของรัฐบาล ?ขิงแก่? ที่อ้างผลตรวจสอบของ ?คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)? ที่ว่าเป็นกฎหมายกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทสื่อสารของอดีตนายกฯ

เพราะผลพวงจากการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมไป ได้ทำให้บริษัทสื่อสารน้อยใหญ่ถูกหวยแจ๊คพอตกัน "ตีนบวม" เพราะภายใต้ระบบการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมของ กสทช.ในปัจจุบันนั้น บริษัทเอกชนเพียงจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1-2 % และเงินค่าธรรมเนียมกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม USO แค่ 1-2% ก็ได้ใบอนุญาตจาก กสทช.แล้ว โดยไม่มีพันธะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหรือภาษีใดๆ ให้แก่รัฐอีก เทียบกับค่าสัมปทาน 25-30% ที่บริษัทสื่อสารเคยจ่ายแก่รัฐในอดีตแล้วแตกต่างกันลิบลับ เม็ดเงินภาษีที่ต้องสูญไปจากการที่รัฐบาลไปยกเลิกภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ที่กำหนดอัตราจัดเก็บไว้ตั้งแต่ 2-10% สำหรับโทรพื้นฐาน และ 10-20% สำหรับมือถือ และยังมีเพดานสูงสุดถึง 50% นั้น หากกฎหมายดังกล่าวไม่ถูกยกเลิกไป วันนี้รัฐบาลและกระทรวงการคลังจะยังมีรายได้จากภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมปีละไม่ต่ำกว่า 30,000-40,000 ล้านบาท และอาจจะมากกว่า 50,000 ล้านบาทด้วยซ้ำ หากมีการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตที่ว่านี้เพื่อชดเชยรายได้จากค่าสัมปทานที่ลดลงไป

ความเสียหายนับแสนล้านส่วนนี้ วันนี้ก็ยังคงถูก "ซุกเอาไว้ใต้พรม" รอ ป.ป.ช.ชำระสะสาง!!!
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: