Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 เจ็บไหล่ ปวดไหล่ รักษายังไงก่อนเปลี่ยนไปเป็นเรื้อรัง
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 1224
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
saranchat2
New Member
New Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 15 Nov 2016
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : เจ็บไหล่ ปวดไหล่ รักษายังไงก่อนเปลี่ยนไปเป็นเรื้อรัง
วันที่โพสท์ : 10 Dec 2016 21:45  
ตอบโดยอ้างถึง  

ร่างกายของมนุษย์ได้ออกแบบโครงสร้างของข้อไหล่ที่จะช่วยให้เราสามารถใช้แขนในการทำกิจกรรมต่างๆตลอดเวลา เช่น เกาหลังตัวเองได้ เอื้อมมือไปหยิบของบนที่สูงได้หรือช่วยให้สามารถขว้างลูกบอลไปได้ไกลๆ เป็นต้น จึงทำให้อะไรก็ตามที่ทำให้ที่ทำให้เราไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนเต็มที่ ที่ส่งผลให้มีอาการเจ็บไหล่นั้นจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก เช่น อาการข้อไหล่ติดหรือข้อไหล่ยึด เป็นต้น

อาการข้อไหล่ติดหรือข้อไหล่ยึดนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบติดยึด จะทำให้เกิดอาการเจ็บไหล่ ปวดและตึงในข้อไหล่เมื่อเวลาขยับ เมือเวลาผ่านไป และมีอาการมากขึ้นอาจทำให้ไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้เลย สาเหตุของโรคนี้ยังไม่แน่ชัด แต่ข้อไหล่ติดเกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ หุ้มข้อไหล่เอาไว้ ถุงหุ้มข้อนี้เกิดอักเสบ ติดยึด เกิดการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการ ปวด แต่ส่วนใหญ่แล้ว การติดของข้อไหล่มักจะมีสาเหตุจากภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นฉีกขาด กระดูกงอกภายในข้อไหล่ เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดข้อไหล่ติดหรือข้อไหล่ยึด มีดังนี้
1.อายุ: ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 และ 60 ปี มีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าคนวัยอื่น
2.การเคลื่อนไหวข้อไหล่น้อยลง: หากเกิดอุบัตุเหตุหรือการบาดเจ็บ จนไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ระยะเวลาหนึ่ง จะพบว่าจะเกิดข้อไหล่ติดตามมา
3.โรคเบาหวาน: ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการป่วยด้วยโรคนี้สุงกว่าคนปกติ
4.โรคอื่นๆ: พบว่าโรคบางอย่างสัมพันธ์ต่อการเกิดข้อไหล่ติด เช่น โรคของต่อมธัยรอยด์ และโรคหัวใจ


ข้อไหล่ช่วยให้เรายกแขนและทำให้แขนเคลื่อนไหวไปได้หลายทิศทาง ซึ่งการที่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะข้อไหล่มีลักษณะเป็นเบ้าและหัวกระดูก ประกอบด้วยกระดูกต้นแขน กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า โดยหัวของกระดูกต้นแขนจะมีลักษณะกลมและรับกับเบ้าของกระดูกสะบัก และมีน้ำไขข้อช่วยหล่อลื่นให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น และมีถุงหุ้มข้อไหล่ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มเอาไว้ ในคนที่มีข้อไหล่ติดนั้นถุงหุ้มข้อไหล่นี้จะหนาตัวและแข็ง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหลายรายมีน้ำไขข้อน้อยอีกด้วย

อาการของข้อไหล่ติดเป็นอย่างไร
ข้อไหล่ติดนั้นจะก่อให้เกิดอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดหรือเจ็บไหล่นี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการที่เด่นชัดคือการไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้เลย มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือเวลากลางคืนมาก อาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 - ระยะเจ็บปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีอาการเจ็บปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น เมื่อโรคเป็นมากขึ้นอาจมีอาการปวดแม้ไม่ได้ทำอะไร ระยะนี้มักนาน 6 สัปดาห์ ถึง 9 เดือน พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อลดลง
ระยะที่ 2 - ระยะข้อยึด อาการปวดจากระยะแรกอาจยังคงอยู่แม้มักจะเริ่มมีอาการปวดลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลง อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก ระยะนี้ทั่วไปอาจนาน 4-9 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ได้
ระยะที่ 3 - ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 5 เดือนถึง 2 ปี

การวินิจฉัยและการรักษา
หลังจากแพทย์ทำการซักประวัติแล้วจะตรวจร่างกายโดยดูการลดลงของพิสัยการ เคลื่อนไหวของข้อไหล่ แพทย์อาจให้เอกซเรย์ หรือทำเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์เพื่อหาว่าข้อไหล่ติดเกิดจากสาเหตุอื่นหรือ ไม่ เช่น ข้อไหล่เสื่อมหรือเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่
ข้อไหล่ติดโดยทั่วไปจะดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งซึ่งหลักในการรักษา คือ การลดความเจ็บปวดและเพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว

การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด
มากกว่า 70% ของผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่จะใช้การรักษาด้วยวิธีรับประทานยาต้านการอักเสบเพื่อลดอาการปวดและบวม, การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ โดยตรงเข้าไปในข้อไหล่ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด, การออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหว, การใช้ความร้อนเพื่อช่วยคลายการยึดติดก่อนที่จะออกกำลังกายยืด
แต่เนื่องจากส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่มีข้อไหล่ติดนั้น มีสาเหตุจากภายในข้อไหล่เอง ซึ่งอาจจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด ดังนั้น แพทย์เฉพาะทางจะทำการตรวจแยกสาเหตุของอาการปวดก่อนวางแผนการรักษา การออกกำลังกายที่แนะนำการใช้นิ้วมือช่วยในการไต่ข้างฝา การชักรอก

การผ่าตัดรักษา
หากอาการไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาวิธีอื่นๆแล้วแพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษา ด้วยการผ่าตัด โดยวิธีการที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ การดัดข้อไหล่เมื่อดมยาสลบและ การผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่



ที่มาของข้อมูล
https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/osteoarthritis-the-shoulder-anchor
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: