Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 NEC ประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบพยากรณ์ดินถล่มในประเทศไทย
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 3035
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : NEC ประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบพยากรณ์ดินถล่มในประเทศไทย
วันที่โพสท์ : 27 Apr 2017 11:06  
ตอบโดยอ้างถึง  

- โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยเกี่ยวกับระบบ ICT เพื่อการป้องกันภัยพิบัติ

วันนี้ เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (NEC, TSE: 6701) โดยความร่วมมือกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้ประกาศความสำเร็จของการทดสอบระบบที่ช่วยระบุพื้นที่บริเวณที่มีอันตรายจากดินถล่ม ประสิทธิภาพของระบบได้รับการยืนยันผ่านการทดสอบระบบในจังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 จนถึงเดือนมีนาคม 2560

ดินถล่มจากฝนตกหนักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ส่งผลให้ผู้คนได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการคมนาคมเนื่องจากทำให้ถนนถูกทำลายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีมาตรการบรรเทาความเสียหายดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

ในเดือนเมษายน 2558 กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่นและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (*1) ออกประกาศร่วมกัน โดยกล่าวว่าทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการพัฒนาระบบ ICT เพื่อป้องกันภัยพิบัติที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นและการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปปรับใช้ ซึ่งในฐานะประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประเทศญี่ปุ่นจึงได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถช่วยป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย ผ่านการส่งมอบเทคโนโลยีชั้นสูงของตน

การทดสอบครั้งนี้เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันภัยพิบัติระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเอ็นอีซีได้ทำการทดสอบระบบโดยร่วมมือกับสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาระบบจำลองดินถล่มในประเทศไทย" ที่ได้รับอนุมัติโดยกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่น

เอ็นอีซีร่วมมือกับ ศภช. (*2) และทำการทดสอบยืนยันกับระบบจำลองอุทกภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ในภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 ถึง มีนาคม 2559 โดยการทดสอบที่รายงานในครั้งนี้เป็นการติดตามผลการทดสอบครั้งดังกล่าว

ระบบพยากรณ์ดินถล่มเป็นส่วนหนึ่งของ "ระบบบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ" ของเอ็นอีซี ระบบบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการดังกล่าวประกอบด้วยแพล็ตฟอร์มแบบใช้งานร่วมกันที่มีฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การบูรณาการข้อมูล การจำลองภาพเสมือน และการเตือนล่วงหน้า รวมทั้งระบบภัยพิบัติสำหรับภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะ เช่น ดินถล่ม อุทกภัย และแผ่นดินไหว ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกระบบหรือฟังก์ชันภัยพิบัติแยกกันหรือจะเลือกรวมระบบภัยพิบัติหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกันก็ได้เพื่อพยากรณ์ภัยพิบัติหลายประเภทพร้อมกัน

ระบบพยากรณ์ดินถล่มสร้างแบบจำลองโดยอิงตามข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา (ข้อมูลฝนตกในอดีตและการพยากรณ์ฝนตก) ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ (ค่าระดับผิวดิน จุดประสงค์ในการใช้งานผืนดิน) และข้อมูลดิน (ความลึกของดิน การนำน้ำของดิน ความพรุน แรงเชื่อมแน่น มุมของแรงเสียดทานภายใน ฯลฯ) เพื่อให้สามารถพยากรณ์ระดับความอันตรายของดินถล่มได้

นอกจากนี้แล้ว ระบบยังสามารถสร้างแบบจำลองอย่างละเอียดโดยใช้ตาข่ายสี่ด้านขนาด 50 เมตร และให้พยากรณ์ภัยพิบัติแบบชั่วโมงต่อชั่วโมงได้ล่วงหน้าถึง 7 วัน จึงช่วยให้ ศภช. สามารถแจ้งเตือนประชาชนในบริเวณที่สุ่มเสี่ยงก่อนจะเกิดเหตุการณ์ดินถล่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ แม้แต่ในช่วงเวลาที่ไม่พบภัยธรรมชาติ ระบบยังสามารถตรวจหาบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มโดยการสร้างแบบจำลองอิงตามข้อมูลฝนตกเพื่อนำมาใช้สร้างแผนที่อันตรายได้เช่นกัน

"เราสามารถใช้ระบบจำลองดินถล่มของเอ็นอีซีจากการร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยหลายหน่วยงาน ระบบดังกล่าวผ่านการปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทยและคาดว่าจะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและ ศภช." พลเรือตรีถาวร เจริญดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าว "การร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลไทยสามารถขยายแบบจำลองของพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้"

"เอ็นอีซีจะยังคงช่วยพัฒนาระบบ ICT เพื่อการป้องกันภัยพิบัติที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้งานและการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย เช่น ดินถล่มและอุทกภัย" นายมิโนรุ ฮิราตะ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น กล่าว "นอกจากนี้ เราจะนำประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการทดสอบในครั้งนี้มาส่งเสริมประชาสัมพันธ์ระบบนี้ในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่พบปัญหาดินถล่มบ่อย ๆ ด้วย"

*1 ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหลังจากการปฏิรูปองค์กร
*2 เป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจนถึงเดือนกันยายน 2558 หลังจากนั้นย้ายมาสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

***

เกี่ยวกับบริษัท NEC Corporation
บริษัท NEC Corporation เป็นผู้นำด้านการติดตั้งเทคโนโลยีระบบ IT และเครือข่าย ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจและผู้คนมากมายทั่วโลก ด้วยการมอบผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับสินค้าบริการที่ได้นำประสบการณ์และทรัพยากรจากทั่วโลกของบริษัท ส่งผลให้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำของ NEC ได้ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าที่มีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ NEC ได้นำความชำนาญกว่า 100 ปีในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ ผู้คน, ธุรกิจ และสังคมได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ไปที่ http://www.nec.com

กลุ่มบริษัท เอ็นอีซี ทั่วโลก จัดหา " โซลูชั่น เพื่อสังคม " เพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และความเท่าเทียมกันของสังคม ภายใต้ข้อความขององค์กรที่ว่า "Orchestrating a brighter world" โดย เอ็นอีซี มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ปัญหาหลากหลายที่ท้าทายและ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าทางสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงของโลกวันพรุ่งนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมได้ที่ http://www.nec.com/en/global/about/vision/message.html

NEC เป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนของบริษัท NEC Corporation สงวนลิขสิทธิ์ เครื่องหมายผลิตภัณฑ์หรือการบริการอื่นใดที่ได้ระบุในที่นี้ เป็นเครื่องหมายการค้าของผู้ถือครองสิทธิ์นั้น ๆ ?2016 NEC Corporation

ผู้ประสานงานสื่อของเอ็นอีซี (ญี่ปุ่น):
เซอิจิโร โทดะ
เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น
s-toda@cj.jp.nec.com
+81-3-3798-6511

โจเซฟ แจสเปอร์
เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น
j-jasper@ax.jp.nec.com
+81-3-3798-6511

ลิงค์ภาพประกอบข่าว:
http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=288258
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: