Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 กังขารองฯวิษณุล้วงลูกบีบ ?เอไอเอส-ทรู? จัดทำ MOU
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11730
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : กังขารองฯวิษณุล้วงลูกบีบ ?เอไอเอส-ทรู? จัดทำ MOU
วันที่โพสท์ : 21 Apr 2016 10:33  
ตอบโดยอ้างถึง  

วงการสื่อสารกังขาพฤติกรรมรองนายกฯวิษณุ นั่งหัวโต๊ะจับมือเอไอเอส-ทรูเซ็น MOU อย่าศึกชิงลูกค้า 2 จีเดิม แถมบีบเอไอเอสโยกบริการโรมมิ่งจากดีแทคมาใช้คลื่นทรูมูฟอีก ชี้ผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจนหลังพบบุตรชายหัวแก้วหัวแหวนนั่งแป้นเป็นฝ่ายบริหารทรูโดยตรง

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กับ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการในช่วงขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 16/2559 ล่าสุดนั้นว่า

เบื้องหลังการเจรจาจัดทำข้อตกลงร่วมดังกล่าว มาจากนโยบายของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯที่ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้เข้ามาดูแลปัญหาไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ จึงเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กสทช. กระทรวงไอซีที และสองบริษัทสื่อสารเข้าพบและร่วมหารือกันหลายต่อหลายครั้ง ก่อนที่จะเสนอให้นายกฯอออกคำสั่งตาม ม.44 โดยนายวิษณุอ้างว่า จำเป็นจะต้องให้ความเป็นธรรมกับบริษัททรูที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 จาก กสทช.ด้วยเพราะบริษัททรูได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมไปยังนายกฯ เพื่อขอให้ กสทช.ยุติการขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการมือถือ 2 จีเดิม โดยอ่างว่าบริษัทได้ขยายเครือข่าย 4 จีครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว โดยมีสถานีฐานมากกว่า 20,000 แห่งสามารถรองรับผู้ใช้บริการเดิมได้อย่างครอบคลุม แต่เมื่อบริษัทเอไอเอสใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการออกไป รัฐจึงจำเป็นต้องแสวงหาทางออกที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ก่อนจะนำมาสู่การจัดทำข้อตกลงร่วม (MOU) ในครั้งนี้

ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลง MOU ฉบับนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบการดำเนินการโอนย้ายเลขหมายจากเอไอเอสไปยังทรูมูฟ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อติดตามเรื่องโดยตรง และยังให้เอไอเอสพิจารณาใช้บริการข้ามโครงข่าย หรือบริการ ?โรมมิ่ง? ลูกค้าที่ยังคงใช้บริการ 2 จีมาใช้คลื่นความถี่ 905-915 และ 950-960 ของทรูมูฟที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จาก กสทช.ไปก่อนหน้า แทนการโรมมิ่งกับดีแทค โดยให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการต่อ กสทช. กระทรวงไอซีที และหัวหน้า คสช.ด้วย

?ก็ให้น่าแปลกที่เหตุใดรองนายกฯถึงต้องออกหน้าลงมาดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยตนเอง ทั้งที่ตามกฎหมายน่าจะเป็นเรื่องที่ กสทช.มีอำนาจดำเนินการได้เองอยู่แล้ว หรือแค่มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการก็น่าจะเพียงพอ แต่เหตุใดรองนายกฯวิษณุ ถึงกับลงทุนลงแรงลงมากำกับการจัดทำข้อตกลง MOU ที่ว่าด้วยตนเอง?

ที่สำคัญก่อนหน้าที่รองนายกฯวิษณุจะเสนอให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2559 สั่งให้ กสทช.ดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 ชุดที่ 1 ช่วงคลื่นความถี่ 895-905 และ 940-950 MHz ใหม่อีกครั้ง พร้อมขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเดิมออกไปนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ออกมายังได้เปิดกว้างให้ผู้เข้าประมูลทุกรายมีสิทธิ์เข้าร่วม ทั้งที่ก่อนหน้า กสทช.มีมติให้ตัดสิทธิ์บริษัทแจส โมบายที่ทิ้งการประมูลไป รวมไปถึงบริษัททรูที่ได้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ไปแล้ว หากอนุมัติให้ทรูเข้าร่วมประมูลได้อีกอาจก่อให้เกิดการผูกขาดคลื่นความถี่ และเป็นการดำเนินการที่ขัดประกาศกสทช.ว่าด้วยการประมูล 4 จี รวมทั้งขัดกฎหมายอื่นๆ ตามมาอีกเป็นพรวน แต่ก็ไม่สามารถทัดทานนโยบายของรัฐและรองนายกฯวิษณุ ที่สั่งให้ กสทช.เปิดกว้างให้ผู้ประมูลทุกรายเข้าร่วมได้ ผ่านคำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว

?การออกมารับหน้าสื่อโอบอุ้มบริษัททรูที่ถูก กสทช.ตัดสิทธิ์การประมูลเพราะได้ใบอนุญาตไปแล้ว รวมทั้งการบีบให้เอไอเอสต้องโยกบริการโรมมิ่งลูกค้าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้คลื่นความถี่ 900 ที่ทรูได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.ไปก่อนหน้า ทั้งที่เอไอเอสมีการเจรจาจัดทำข้อตกลงโรมมิ่งกับบริษัทดีแทคไปแล้ว ชี้ให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่น่าจะมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะการที่บริษัทเอกชนจะตัดสินใจใช้บริการโรมมิ่งกับเครือข่ายใดย่อมถือเป็นเรื่องของการเจราจาทางธุรกิจ หาใช่เรื่องที่รัฐจะสอดมือเข้าไปสอดแทรกได้?

ที่สำคัญเมื่อมีการตรวจสอบในเชิงลึกยังพบด้วยว่า บุตรชายของรองนายกฯวิษณุนั้นยัง เป็น 1 ในผู้บริหารในบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นโดยตรงอีกด้วย ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูว่า เบื้องหลังความพยายามในการดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือแก่บริษัทเอกชนรายนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข่องอย่าง คณะกรรมการ ปปช. หรือ สตง.น่าจะได้เข้ามาตรวจสอบโดยด่วน
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: