Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 ฟื้นฟู "ทีโอที" ยังพายเรือในอ่าง!
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 11531
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ฟื้นฟู "ทีโอที" ยังพายเรือในอ่าง!
วันที่โพสท์ : 17 Oct 2016 14:39  
ตอบโดยอ้างถึง  

เหลือบไปเห็นข่าว นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทีโอที จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผยกับพนักงานทีโอที ถึงแผนจัดหาพันธมิตรธุรกิจที่คาราคาซังมานานว่า หากทีโอทีไม่สามารถลงนามในสัญญาพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค จำกัด ในเครือ เอไอเอสได้ ทีโอทีจะได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างหนัก

เพราะในแนวทางการเจรจาเป็นพันธมิตรธุรกิจที่ทีโอที-เอไอเอสดำเนินการเจรจากันมาร่วมปีนั้น คาดว่า จะทำให้ทีโอทีมีรายได้จากการนำเอาโครงข่ายและอุปกรณ์ที่ทีโอทีได้รับมอบมาจากบริษัทเอกชนคู่สัญญาสัมปทานไปใช้ประโยชน์ปีละกว่า 10,000 ล้านบาท แต่หากไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ ก็คงยากที่จะไปเจรจาหรือแสวงหาพันธมิตรธุรกิจกับบริษัทสื่อสารอื่นใดได้อีก

นัยว่าระหว่างนี้ทีโอทีและเอไอเอสต้องทำสัญญาการทดลองต่อเชื่อมระบบโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างกันแทนโดยจะใช้เวลา 6 เดือน ทีโอทีจะมีรายได้เดือนละ 325 ล้านบาท ซึ่งในระหว่างนี้ได้มีการเจรจา และร่างสัญญาฉบับจริงประกอบด้วยสัญญาการให้บริการข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ระยะเวลา 9 ปี คิดเป็นเงินปีละ 3,900 ล้านบาท สัญญาการเช่าเสาโทรคมนาคม 16,500 ต้น ระยะเวลา 15 ปี คิดเป็นเงินปีละ 3,600 ล้านบาท สัญญาการเช่าอุปกรณ์ 2จี ระยะเวลา 4-5 ปี คิดเป็นเงินปีละ 2,000 ล้านบาท

?ทีโอที จะพยายามอธิบายให้ฝ่ายการเมืองที่มีความสงสัยในการทำสัญญาธุรกิจกับเอไอเอสให้เข้าใจ และจะดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพราะหากสัญญาไม่เกิดขึ้น ทีโอทีจะอยู่ในฐานะลำบากเพราะไม่มีรายได้และไม่สามารถนำทรัพย์สินที่ได้รับมอบตามสัญญาสัมปทาน ไปดำเนินการใดๆ ได้เลย ขณะที่ระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีตามระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช.นั้นเหลืออยู่อีกเพียง 9 ปีเท่านั้นจะสิ้นสุดในปี 2568?

ทั้งนี้ผลการดำเนินการของทีโอทีในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.59) นั้น ทีโอทีมีรายได้ 18,125 ล้าบาท ขาดทุนไปแล้วกว่า 10,824 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนเพียง 1,293 ล้านบาทแล้ว ขาดทุนเพิ่มขึ้นมาถึง 9,531 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 59 ตั้งเป้าหมายว่าจะมีรายได้ 37,459 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 14,037 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักนั้นเป็นผลมาจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมือถือกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เมื่อเดือน ก.ย.58 ขณะที่รายได้จากการให้บริการอินเตอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยี ADSL ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าหันไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านไฟเบอร์ออฟติก (FTTX) ผ่านโทรศัพท์มือถือ และมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น จนมีผลทำให้ทีโอทีที่เคยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งมีลูกค้ามากกว่า 1 ล้าน แต่ปัจจุบันลูกค้าเหลือ 800,000-900,000 รายเท่านั้น มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 3 รองจากทรู คอร์ และ 3BB

ก็ไม่รู้เสียงสะท้อนของฝ่ายบริหารทีโอทีที่ว่าจะขึ้นไปถึงนายกฯตู่ และโดยเฉพาะคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ที่ก่อนหน้าเอาแต่ป้ำผีลุกปลุกผีนั่งจะให้ทีโอทีและแคท- บมจ.กสทโทรคมนาคม แยกกิจการออกไปตั้งบริษัทลูก 3-4 บริษัทอย่างเดียว โดยไม่ดูเลยว่า ตั้งไปแล้วจะไปแข่งกับชาวบ้านร้านรวงเขายังไง เพราะ 2 รัฐวิสาหกิจก็อยู่ในสภาพหืดจับหายใจไม่ทั่วท้องกันอยู่

นี่หากลงนามในสัญญากับพันธมิตรธุรกิจไปซะตั้งแต่ปลายปีก่อน ปีนี้ทีโอทีก็คงขาดทุนไม่ถึง 4,000 ล้านบาทแน่ เผลอๆ อาจจะพลิกช่องกลับมามีกำไรด้วยซ้ำจากการนำเอาทรัพย์สินโครงข่ายที่มีไปทำมาหากิน แต่แทนที่บอร์ดและระดับนโยบายจะพิจารณาแนวทางการหาพันธมิตรธุรกิจเข้ามาร่วมพัฒนาสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเห็นๆ เป็นหมื่นล้าน กลับจะไปหวังแต่น้ำบ่อหน้าซะงั้น!
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: