Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 SpaceChain ส่งดาวเทียมบล็อกเชนดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำ
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2482
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : SpaceChain ส่งดาวเทียมบล็อกเชนดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำ
วันที่โพสท์ : 26 Feb 2018 13:33  
ตอบโดยอ้างถึง  

เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา SpaceChain ประสบความสำเร็จในการยิงดาวเทียมบล็อกเชน (blockchain node) ดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำด้วยจรวดขนส่งดาวเทียม CZ-2D ซึ่งถูกปล่อยออกจากศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉวียน ในทะเลทรายโกบี ประเทศจีน เมื่อเวลา 15.51 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีการติดตั้งบอร์ดพัฒนาฮาร์ดแวร์ Raspberry Pi ไปกับดาวเทียมด้วย ซึ่งบอร์ดตัวนี้สามารถเปิดใช้โปรแกรมได้เต็มโหนดบนเทคโนโลยีบล็อกเชน Qtum

การยิงดาวเทียมครั้งนี้อาจถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในการสำรวจอวกาศด้วยเงินทุนเอกชน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า SpaceChain กำลังเข้าสู่แวดวงที่องค์กรส่วนใหญ่แทบจะไม่สามารถเข้าถึงได้ และไม่มีทางที่จะรู้ว่า โปรแกรมอวกาศแบบโอเพ่นซอร์สและกระจายศูนย์โปรแกรมนี้จะนำไปสู่ที่ใด

"นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่เรากำลังผนึกรวมอวกาศและบล็อกเชนเข้าไว้ด้วยกัน เป้าหมายของเราที่ Qtum คือการสร้างอำนาจให้แก่ชุมชนบล็อกเชนในการเร่งการพัฒนา SpaceChain ซึ่งเป็นองค์กรด้านอวกาศของเอกชน เพื่อประโยชน์ของประชาชน" แพททริก ได ผู้ร่วมก่อตั้ง Qtum และหนึ่งในหุ้นส่วนของ SpaceChain กล่าว

บล็อกเชนขึ้นสู่วงโคจร

เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่พอสมควร จึงมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเฉพาะจำนวนมากเพื่อรองรับบล็อกเชนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

หลังประสบความสำเร็จในการยิงดาวเทียมดวงแรก SpaceChain กำลังจะเจาะเข้าสู่ตลาดพิเศษ แต่ก่อนจะมาถึงจุดนี้ โครงการอวกาศเอกชนได้เคยถูกจำกัดไว้สำหรับมหาเศรษฐีเท่านั้น แต่ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานอยู่บน เทคโนโลยี QTUM Blockchain ทาง SpaceChain จึงได้เปิดโลกแห่งการสื่อสารผ่านดาวเทียมให้แก่บรรดานักพัฒนาในทุก ๆ ที่

แนวคิดเรียบง่าย

SpaceChain ได้พัฒนาแพลตฟอร์มแบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาอิสระทั่วโลกสามารถออกแบบแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากศักยภาพทั้งหมดที่แพลตฟอร์มการสื่อสารผ่านดาวเทียมจะสามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้

"การยิงดาวเทียมครั้งนี้นับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญมากต่อการสร้างแบบจำลองการแก้ปัญหาแบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งเป็นการนำปัญญารวมหมู่หรือความฉลาดร่วม (collective intelligence) ไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เราตั้งเป้าหมายที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมอวกาศด้วยการเปิดทางให้มีการใช้ประโยชน์จากอวกาศให้มากขึ้น เร่งการค้นพบ และเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมนี้" คุณเจิง จั้ว ผู้ก่อตั้ง SpaceChain กล่าว

SpaceChain มีแผนจะปล่อยดาวเทียมอีกสองดวงในปีนี้ รวมทั้งขยายศักยภาพในการเคลื่อนย้ายข้อมูล เนื่องจากมีนักพัฒนาที่หันมาใช้แพลตฟอร์มของบริษัทและเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียมกันมากขึ้น

ผู้เล่นรายสำคัญ

ในปีที่ผ่านมา มีบริษัทจำนวนมากเข้าสู่วงการดาวเทียม "บล็อกเชน" แต่มีเพียงไม่กี่แห่งที่นำเสนอนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ SpaceChain มีความชำนาญเป็นพิเศษในด้านนี้ ซึ่งนักลงทุนผู้มีวิสัยทัศน์ก็ได้ให้การสนับสนุนคุณจั้ว ผู้ต้องการสร้างการสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบโอเพ่นซอร์สในรูปแบบใหม่

ทิม เดรเปอร์ เป็นนักลงทุนแบบ Venture Capitalist ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องของการทุ่มลงทุนในเทคโนโลยีทันสมัย โดยหลังจากที่ได้ให้คำปรึกษาคุณจั้วที่มหาวิทยาลัยเดรเปอร์ในปี 2559 ก็ได้เกิดแนวคิดที่กลายเป็น SpaceChain ในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ เป็นที่น่าจดจำว่า หนึ่งในผู้ใช้สกุลเงินดิจิทัลที่อิงระบบบล็อกเชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในขณะนี้ก็คือผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักในระดับสากล และต้องการหาวิธีที่สะดวกเพื่อชำระบัญชีทางการค้า

ขณะที่ประชาชนจำนวนมากในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเก็งกำไรสกุลเงินดิจิทัล แต่ประชาชนในอีกหลายประเทศ อาทิ เวเนซุเอลาและซิมบับเว กลับใช้เงินดิจิทัลเป็นเงินสด และหลีกเลี่ยงระบบที่ได้รับการยอมรับอยู่เดิม ซึ่งขัดขวางการเคลื่อนย้ายสินค้าและความคิดต่าง ๆ แบบเสรี

โหนดต่าง ๆ ของระบบบล็อกเชนที่อยู่บนภาคพื้นดินนั้น ช่วยในเรื่องของการโอนย้ายข้อมูลจำนวนมหาศาลและการคำนวณข้อมูลแบบดิบ แต่เมื่อเป็นเรื่องของการติดต่อสื่อสารกับสถานที่ห่างไกลที่เครือข่ายโทรคมนาคมในปัจจุบันไม่สามารถเชื่อมโยงได้นั้น ดาวเทียมจึงเป็นทางเลือกเดียว

"SpaceChain จะสร้างระบบนิเวศวิทยาใหม่ที่เชื่อมโยงธุรกิจ นักพัฒนา และผู้บริโภคนับล้านคนกับเทคโนโลยีอวกาศและบล็อกเชนที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย" คุณเดรเปอร์กล่าว

เขาอาจจะคิดถูก เมื่อดูจากความต้องการรูปแบบการแบ่งปันข้อมูลและการชำระบัญชีทางการค้าแบบไม่มีศูนย์กลาง

พลังแห่งตัวเลข

หนึ่งในแง่มุมสำคัญที่สุดที่ระบบต่าง ๆ บนเทคโนโลยีบล็อกเชนมอบให้ก็คือ การช่วยประชาชนจากวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันให้สามารถรวมทรัพยากรต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และแลกเปลี่ยนความเสี่ยง ขณะที่พวกเขามุ่งไปสู่เป้าหมายที่มีร่วมกัน

เหรียญโทเคน SpaceChain เป็นการลงทุนในองค์กรด้านอวกาศแบบไร้ศูนย์กลางแห่งแรกของโลก ซึ่งกำลังดำเนินการเพื่อทำให้เทคโนโลยีที่อยู่ในอวกาศสามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคนบนโลกใบนี้

แม้โปรแกรมแรกของทางองค์กรจะมุ่งเน้นไปที่การกระจายศูนย์กลางของการสื่อสารผ่านดาวเทียม แต่คุณจั้วก็เริ่มมองไปถึงโครงการที่ใหญ่ขึ้นสำหรับ SpaceChain ในอนาคต

"การเข้าสู่อวกาศของ SpaceChain จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมแบบไม่มีศูนย์กลาง ซึ่งจะส่งเสริมการพัฒนาและความร่วมมือ ด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ถือว่าน้อยมากสำหรับอุตสาหกรรมนี้" คุณเดรเปอร์กล่าว

นั่นหมายความว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า SpaceChain จะอยู่ในจุดสำคัญที่ซึ่งการพัฒนาด้านอวกาศของภาคเอกชนแบบไม่มีศูนย์กลางจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์สำหรับโลกใบนี้ ที่ซึ่งข้อมูลได้รับการยอมรับว่าเป็นสกุลเงินใหม่

ไม่มีสิ่งใดจะหยุดยั้งพวกเขาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไปพร้อม ๆ กับตลาดที่กำลังเปิดรับวิธีการที่เป็นการปฏิวัติวงการมาใช้ในการให้บริการการสื่อสารแบบโปร่งใส และด้วยเป้าหมายสูงสุดในการสำรวจอวกาศ SpaceChain จึงอยู่ในจุดที่ไม่มีใครเสมอเหมือนในจักรวาลแห่งบล็อกเชน

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SpaceChain ได้ที่
เว็บไซต์ - http://www.spacechain.com/
เทเลแกรม - https://t.me/SpaceChainOfficial
ลิงค์อิน - https://www.linkedin.com/company/27096929/
เฟซบุ๊ก - https://www.facebook.com/spacechainfound/
ทวิตเตอร์ - https://twitter.com/Space__Chain

สื่อมวลชนติดต่อ:
หมายเลขติดต่อ: +65 8749 9389
info@spacechain.com
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: