Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 คณะกรรมการฯ เดินหน้าปฏิรูปสื่อส่งเสริมจริยธรรม-ปรับโครงสร้าง
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 1986
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
Numwaan_S
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 21 Mar 2011
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : คณะกรรมการฯ เดินหน้าปฏิรูปสื่อส่งเสริมจริยธรรม-ปรับโครงสร้าง
วันที่โพสท์ : 25 Jul 2018 23:15  
ตอบโดยอ้างถึง  

คณะกรรมการฯ เดินหน้าปฏิรูปสื่อส่งเสริมจริยธรรม-ปรับโครงสร้าง

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เดินหน้าปฏิรูปสื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว โดยมี 6 แนวทางการปฏิรูปให้รู้เท่าทันสื่อ ส่งเสริมจริยธรรม ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม วางแนวทางกำกับดูแลสื่อออนไลน์ บริหารความปลอดภัยไซเบอร์ และปฏิรูปข้อมูลข่าวสารภาครัฐ



นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เปลี่ยนอย่างรุนแรงด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption) โดยเฉพาะการเข้ามาของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี โทรทัศน์ดิจิทัล ตลอดจนผู้ให้บริการ Platform หลักจากต่างประเทศ เช่น Facebook, Youtube, Line และ Twitter และการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้บริโภคสื่อกลายเป็นผู้ผลิตสื่อ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงมากขึ้นคือ จริยธรรมในการทำหน้าที่ ในบางกรณีสื่อยังขาดจริยธรรมในการทำหน้าที่ ทำให้มีการเสนอข่าวสารที่ไม่เหมาะสม ด้านประชาชนผู้เสพสื่อ ยังไม่อาจแยกแยะคุณภาพของสื่อ ทำให้มีประชาชนจำนวนมากสนับสนุนสื่อที่ไม่มีมาตรฐานด้านคุณภาพ ทำให้การแก้ไขสื่อให้ทำงานอย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องที่ยาก เพราะสื่อจะนำเสนอเรื่องราวข่าวสารที่ประชานิยมเสพ เป้าหมายของการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชนฯ มุ่งเน้นการสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของการทำหน้าที่ของสื่อ บนความรับผิดชอบกับการที่ให้ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” ที่จะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ และส่งเสริมทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อสังคม

การปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 6 แนวทางดังนี้

1.การปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน ให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเป็นวิชาพื้นฐานระดับอุดมศึกษา ประกอบกับการรู้เท่าทันสื่อในฐานะสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและรู้เท่าทันสื่อในฐานะเป็นผู้บริโภค

2.แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ โดยการตั้งคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา, ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ, ผู้ประกอบกิจการสื่อ, ตัวแทนภาควิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน และตัวแทนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อมวลชน

3.การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน ปฏิรูปการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยให้ความสำคัญกับ การปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับกิจการวิทยุและโทรทัศน์ จากการใช้ราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็นการใช้คุณสมบัติและข้อเสนอในเชิงคุณภาพรายการของผู้เข้าประมูล (Beauty Contest)

ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการโทรทัศน์ที่เป็นของรัฐ องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจ เช่น สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(NBT) จะเป็นหน่วยงานแรกที่มีการปรับโครงสร้างในปี 2561 ให้มีภาคเอกชนและภาครัฐ เข้าร่วมผลิตรายการร่วมกัน หรือเช่าเวลาผลิต ในสัดส่วน 30-40% และอีก 60% ดำเนินการผลิตโดยกรมประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ(Thai PBS) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT) สถานีโทรทัศน์รัฐสภา สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.๕) ให้เป็นการใช้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะที่คุ้มค่ามากขึ้นและเปิดโอกาสให้ประชารัฐเข้ามามีส่วนมากขึ้น

4.การปฏิรูปแนวทางการกำกับดูแลสื่อออนไลน์ การปฏิรูปด้านช่องทางการประสานงานกับผู้ให้บริการ สื่อออนไลน์ที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ

5.การปฏิรูปการบริหารจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ กิจการอวกาศ และระบบและเครื่องมือด้านการสื่อสารมวลชนและโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ การปกป้องคุ้มครองและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านสารสนเทศของประเทศ ซึ่งจะต้องดำเนินการแก้กฎหมายรองรับให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้จัดสรรคลื่นความถี่ นอกจากนี้ก็มีการร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงไซเบอร์ ซึ่งอยู่ใน
ชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

6.การปฏิรูประบบการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ เร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการด้านการประชาสัมพันธ์ และการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ

การปฏิรูปประเทศจำเป็นต้องได้รับการร่วมมือจากภาคประชารัฐทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมกับการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในครั้งนี้
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: