Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 เมอร์ค, genOway จับมือเป็นพันธมิตรสร้างโมเดลหนูทดลองรับ CRISPR
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2311
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : เมอร์ค, genOway จับมือเป็นพันธมิตรสร้างโมเดลหนูทดลองรับ CRISPR
วันที่โพสท์ : 12 Dec 2018 17:05  
ตอบโดยอ้างถึง  

เมอร์ค และ genOway จับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ มุ่งสร้างโมเดลหนูทดลองรองรับเทคโนโลยี CRISPR/Cas9



- genOway จะได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวสำหรับสิทธิบัตรการปรับแต่งจีโนมของเมอร์ค เพื่อผลิตและจำหน่ายโมเดลหนูทดลอง
- จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นใหม่ ๆ โดยใช้ CRISPR/Cas9 เพื่อเร่งการส่งมอบยาที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นให้กับคนไข้

เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม ได้ประกาศเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในตลาดโมเดลหนูทดลอง CRISPR/Cas9 ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง genOway

"เรามีพันธกิจในการเผยแพร่เทคโนโลยี CRISPR ภายใต้สิทธิบัตรของเราสู่ชุมชนการค้นคว้าวิจัยทั่วโลก" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว "ในการร่วมมือกับ genOway เราจะนำโมเดลสัตว์ทดลองที่ดีที่สุดออกสู่วงการเภสัชกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนวงการวิชาการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะช่วยเร่งขั้นตอนการวิจัยให้เร็วยิ่งขึ้น ย่นระยะเวลาการพัฒนายา และรักษาโรคที่เคยรักษาไม่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น เราจะมุ่งดำเนินการอย่างจริงจังด้วยความรับผิดชอบและจรรยาบรรณต่อไป เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี CRISPR ใหม่ล่าสุดได้"

ด้วยสิทธิบัตรเทคโนโลยี CRISPR ระดับโลกของเมอร์ค ทาง genOway จะสร้างโมเดลสัตว์ทดลองและโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งที่หวังผลและไม่หวังผลกำไรสามารถใช้เทคโนโลยี CRISPR/Cas9 ได้ ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว genOway จะพัฒนาเครือข่ายผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายโมเดลสัตว์ทดลอง ตลอดจนบริการทดลองขั้นพรีคลินิก สำหรับทุกการใช้งานทั่วโลก โดยมีเป้าหมายสำคัญได้แก่สหรัฐอเมริกา เอเชีย และยุโรป ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของข้อตกลงดังกล่าว

ทั้งเมอร์ค และ genOway ได้ค้นพบขอบข่ายการวิจัยที่ทั้งสองบริษัทจะสามารถนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ CRISPR/Cas9 ทั้งนี้ เทคโนโลยีบูรณาการ CRISPR ภายใต้สิทธิบัตรของเมอร์ค ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่แข็งแกร่งในการพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ ๆ

เมอร์ค ให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญด้านการดูแล การใช้งาน และสวัสดิภาพของสัตว์เหนือสิ่งอื่นใด นอกจากภารกิจในการพัฒนายาและสารเคมีเชิงนวัตกรรมจากความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานทางจริยธรรมที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เมอร์ค ยังมีปณิธานว่าจะใช้สัตว์ในการวิจัยก็ต่อเมื่อไม่มีวิธีการวิจัยหรือการทดสอบอื่นใดที่จะสามารถนำมาซึ่งผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้ โดยหลีกเลี่ยงที่จะใช้สัตว์ที่ยังมีชีวิต

"ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับ CRISPR/Cas9 มีความซับซ้อนและไม่แน่นอน" อเล็กซานเดอร์ แฟร์ชาร์ด ซีอีโอบริษัท genOway กล่าว "ขณะนี้สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนไปแล้ว การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของเมอร์ค ให้ความสำคัญกับการปรับแต่งจีโนมยูคาริโอตโดยใช้ CRISPR/Cas9 ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำงานวิจัยมาผนวกรวมเข้ากับการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสร้างโมเดลสัตว์ทดลองที่ถูกต้องตามหลักสรีรวิทยามากขึ้นให้แก่วงการวิทยาสศาสตร์ ตลอดจนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งจะช่วยเร่งการส่งมอบยาที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นให้กับคนไข้"

เทคโนโลยี CRISPR ถือเป็นจุดแข็งสำคัญของเมอร์ค ซึ่งมีประสบการณ์ 14 ปีในด้านการปรับแต่งจีโนม ตั้งแต่ในขั้นตอนการค้นคว้าวิจัยไปจนถึงการผลิต เมอร์คตระหนักดีว่า การปรับแต่งจีโนมได้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าที่สำคัญในด้านการวิจัยทางชีวภาพและยารักษาโรค แต่ในขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมก็ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ กฎหมาย และสังคม ดังนั้น ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เมอร์คจึงสนับสนุนการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมภายใต้การพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panel) ขึ้น เพื่อให้คำแนะนำแก่โครงการวิจัยที่ธุรกิจของเมอร์คได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม ตลอดจนกำหนดจุดยืนการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม สู่แนวทางการรักษาโรคที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ

เกี่ยวกับ genOway
genOway (ALTERNEXT-NYSE: ALGEN) คือบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่พัฒนาโมเดลสัตว์ทดลองที่ผ่านการปรับแต่งทางพันธุกรรมสำหรับอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เคมีการเกษตร อาหาร และการวิจัยทางวิชาการ genOway ขับเคลื่อนด้วยบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์มากความสามารถ โดยมีพนักงาน 95 คน ดำเนินการใน 28 ประเทศในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ และมีลูกค้ากว่า 275 ราย genOway เป็นผู้นำตลาดทั้งในแง่ของขนาดและจำนวนลูกค้า ความก้าวหน้าของบริษัทเกิดจากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่กว้างขวาง และความแข็งแกร่งด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจากสิทธิบัตรและสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ด้วยเทรนด์โลกที่กำลังนิยมใช้บริการการผลิตโมเดลสัตว์ทดลองที่ผ่านการปรับแต่งทางพันธุกรรมจากบริษัทภายนอก genOway ได้เซ็นสัญญากับผู้นำในวงการเภสัชภัณฑ์ เช่น Janssen R&D, GSK และ Pfizer ตลอดจนศูนย์การวิจัยทางวิชาการที่มีชื่อเสียง เช่น King's College และ University of Manchester ในประเทศอังกฤษ; Harvard, Caltech และ National Institutes of Health ในสหรัฐอเมริกา; Institut Pasteur ในประเทศฝรั่งเศส; NGFN และ Max Planck Institutes ในเยอรมนี
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.genoway.com

ติดตามเมอร์คได้ทาง Twitter @Merckgroup, Facebook @merckgroup และ LinkedIn

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมดของเมอร์คได้รับการเผยแพร่ผ่านทางอีเมลในเวลาเดียวกับที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของเมอร์ค กรุณาเข้าไปที่ www.merckgroup.com/subscribe เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบริการนี้

เกี่ยวกับ เมอร์ค
เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำในด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล พนักงานประมาณ 51,000 คนของบริษัทต่างทุ่มเทในการสร้างความแตกต่างที่ดีต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านคนในทุก ๆ วัน ด้วยการนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืนยิ่งขึ้น เมอร์ค เป็นทั้งผู้พัฒนาเทคโนโลยีตัดต่อยีน ไปจนถึงการเสาะหากลวิธีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ท้าทายที่สุด ตลอดจนการคิดค้นอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยในปี 2560 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.53 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ

การสำรวจในทางวิทยาศาสตร์และการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คือหัวใจหลักในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมอร์ค ทั้งยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของเมอร์คนับตั้งแต่ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2211 ปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์ค" ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี เซโรโน ในวงการดูแลสุขภาพ, มิลลิพอร์ซิกมา ในวงการชีววิทยาศาสตร์ และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียลส์

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/795864/genOway_CRISPR.jpg
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: