Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 ผู้ค้าออนไลน์ 70% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมุมมองบวก
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 717
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ผู้ค้าออนไลน์ 70% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมุมมองบวก
วันที่โพสท์ : 04 Aug 2021 11:12  
ตอบโดยอ้างถึง  

ลาซาด้าเผยผลสำรวจผู้ค้าออนไลน์ 750 ราย ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2021 โดยพบว่าแม้เผชิญกับความไม่แน่นอนท่ามกลางสถานการณ์โควิด -19 ผู้ค้าออนไลน์ยังคงเชื่อมั่นในแนวโน้มการเติบโตในสามเดือนข้างหน้า ด้วยคะแนนรวม 64

ผู้ขายสินค้าแฟชั่นมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดย 48% ระบุว่าธุรกิจดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และ 75% เชื่อว่าธุรกิจจะดีขึ้นกว่า 10% ในไตรมาสหน้า

สามารถดูอินโฟกราฟิกได้ที่ https://mma.prnewswire.com/media/1584925/Digital_Commerce_Confidence_Index.pdf

ลาซาด้า ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นครั้งแรก ซึ่งจะมีการจัดทำสองครั้งต่อปี โดยรายงานฉบับแรกในอุตสาหกรรมนี้มาจากการสำรวจความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อแสดงมุมมองของผู้ค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีต่ออุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ พร้อมกับนำเสนอความท้าทายและโอกาสที่รออยู่ในอนาคต

ดัชนีความเชื่อมั่นนี้ได้มาจากการสำรวจผู้ค้าออนไลน์ 750 ราย ใน 6 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์) ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2021 (ครึ่งแรกของปี 2021) โดยรายงานระบุว่า ผู้ค้า 52% มีการเติบโตในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกปี 2021 และ 70% เชื่อว่าธุรกิจจะโตอีกกว่า 10% ในไตรมาส 3 ของปีนี้ (ไตรมาส 3/2021) โดยจาก 70% ดังกล่าว หนึ่งในสาม (33%) ของผู้ค้ามีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้คะแนนรวมของดัชนีเป็น "บวก" ด้วย 64 คะแนน ทั้งนี้ คะแนน 0 หมายถึง "มีมุมมองลบอย่างมาก" และคะแนน 100 หมายถึง "มีมุมมองบวกอย่างมาก"

"เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อแสดงถึงตัวบ่งชี้ในอนาคตและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบธุรกิจ SME ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย SME จำนวนมากหันมาใช้เทคโนโลยีใหม่และพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัล เพื่อพลิกโฉมและเตรียมธุรกิจของพวกเขาให้พร้อมสำหรับอนาคต แม้เผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและความท้าทายมากมาย ดัชนีของเราก็ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ค้ายังคงมีความสามารถในการฟื้นตัวและมีมุมมองบวกเกี่ยวกับอนาคต" แม็กนัส เอ็คบอม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของลาซาด้า กรุ๊ป กล่าว

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ค้ามีมุมมองบวกคือ การที่พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น โดยผู้บริโภค 47% ซื้อสินค้าออฟไลน์น้อยลง และ 30% หันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นในปี 2020 สถานการณ์โควิด-19 ช่วยเร่งให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวมากขึ้นและกลายเป็นสมรภูมิสำคัญของผู้ค้าที่ต้องการขยายธุรกิจ

แนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกิดขึ้นในทุกหมวดหมู่สินค้า โดยผู้ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้าน โดยผู้ค้า 53% รายงานว่าธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2021

รายงานยังเผยให้เห็นถึงมุมมองอันหลากหลายที่ผู้ค้ามีต่ออนาคต ยกตัวอย่างเช่น ผู้ขายสินค้าแฟชั่นมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดย 48% ระบุว่าธุรกิจดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่ 75% เชื่อว่าธุรกิจจะดีขึ้นอีกในไตรมาส 3/2021 และเกือบ 40% คาดว่าธุรกิจจะโตเกิน 30% ในไตรมาสดังกล่าว

"การฉีดวัคซีนมีผลอย่างมาก และสินค้าแฟชั่นในแพลตฟอร์มต่างๆ กลับมาเติบโตกว่า 70% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ในสินค้าบางกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่คือเสื้อผ้า" โรชาน ราจ หุ้นส่วนของ Redseer กล่าว "นอกจากนี้ การไลฟ์สดยังช่วยกระตุ้นยอดขายของผู้ค้าจำนวนมาก ด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์และดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้า โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ากับผู้ซื้อเป็นกลไกสำคัญของธุรกิจสินค้าแฟชั่น ซึ่งเป็นธุรกิจแบบ C2C และต้องอาศัยการสร้างความมั่นใจผ่านการมีปฏิสัมพันธ์" อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น คุณโรชาน คาดการณ์ว่า "ความคาดหวังของผู้ขายสินค้าแฟชั่นอาจลดลงในอนาคตอันใกล้นี้"

ผู้ค้าที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจออนไลน์คือ การพัฒนาสินค้าที่โดดเด่นและแตกต่าง (52%) การดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มากขึ้น (50%) และความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก (23%) นอกจากนี้ ในตลาดที่มีความอิ่มตัวสูง การแข่งขันในหมู่ผู้ค้าออนไลน์ไม่ใช่แค่การแข่งขันด้านราคาอีกต่อไป แต่เป็นการแข่งขันในมิติใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีที่ดึงดูดลูกค้ากลายเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้กับผู้ค้าจำนวนมาก

เกี่ยวกับลาซาด้า กรุ๊ป

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 ลาซาด้า กรุ๊ป เป็นผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ด้วยการนำเสนอธุรกิจการค้าและเทคโนโลยีอันทันสมัย พร้อมระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง และเครือข่ายการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ลาซาด้าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั่วภูมิภาค พร้อมความมุ่งมั่นที่จะให้บริการเหล่านักช็อปออนไลน์กว่า 300 ล้านคนภายในปี 2030 ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ลาซาด้าได้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญของกลุ่มอาลีบาบาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการขับเคลื่อนโดยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีระดับโลก

เกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซของลาซาด้า

ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (Digital Commerce Confidence Index: DCCI) ชี้วัดความเชื่อมั่นทางธุรกิจด้วยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ค้าออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์) โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 ลาซาด้าได้ทำการสำรวจผู้ค้า 750 ราย เกี่ยวกับยอดขายออนไลน์ในปัจจุบัน และความคาดหวังที่มีต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอนาคต ทั้งนี้ ดัชนีแบ่งเป็น 0 ถึง 100 โดย 0 หมายถึง "มีมุมมองลบอย่างมาก" และ 100 หมายถึง "มีมุมมองบวกอย่างมาก"
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: