Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 หัวเว่ยจัดสัมมนาถกอนาคตการพัฒนาอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูล
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 691
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : หัวเว่ยจัดสัมมนาถกอนาคตการพัฒนาอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูล
วันที่โพสท์ : 19 Apr 2022 09:35  
ตอบโดยอ้างถึง  

หัวเว่ย จัดงานสัมมนาระดับโลก ถกอนาคตการพัฒนาอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูล

หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ (Huawei Digital Power) จัดงานสัมมนาว่าด้วยอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต (Next-Generation Data Center Facility Seminar) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 งานนี้เป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเกือบ 200 คนจากบริษัทให้บริการรับฝากวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Colo) องค์กรขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการเครือข่าย บริษัทให้คำปรึกษา และสถาบันวิจัยทั่วโลก ที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสามหัวข้อหลัก ได้แก่ คำจำกัดความของศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต โซลูชันพลังงานและการระบายความร้อนที่เป็นนวัตกรรม และวิธีการทำให้อุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูลทำงานอัตโนมัติ

ชาร์ลส์ หยาง (Charles Yang) รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และซีอีโอของหัวเว่ย ดาต้าเซ็นเตอร์ ฟาซิลิตี้ (Huawei Data Center Facility) กล่าวเปิดงาน โดยระบุว่า "ด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอนกลายเป็นฉันทามติระดับโลก และเศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัว อุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลจึงเผชิญกับความท้าทายจากการใช้พลังงานสูง คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขนาดใหญ่ การดำเนินงานและบำรุงรักษาที่ยากลำบาก และความน่าเชื่อถือในระดับต่ำ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ ศูนย์ข้อมูลจะต้องเปิดรับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของบริการ ทั้งบทบาทในการจัดหาพลังงาน และรูปแบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา โดยหัวเว่ยจะดำเนินการอภิปรายเชิงลึกกับลูกค้าและผู้เล่นในอุตสาหกรรม เพื่อรู้เท่าทันแนวโน้มตลาด และร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวและยั่งยืนผ่านนวัตกรรมและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง"

หัวข้อที่ 1: การกำหนดนิยามของอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต

ซานเจย์ กุมาร ไซนานิ (Sanjay Kumar Sainani) รองประธานอาวุโสระดับโลกและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) ของธุรกิจหัวเว่ย ดาตาเซ็นเตอร์ (Huawei Data Center Business) เสนอแนะว่า ด้วยปริมาณข้อมูลและพลังประมวลผลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ศูนย์ข้อมูลจะได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ ขยายความจุได้อย่างยืดหยุ่น ติดตั้งวางระบบได้อย่างรวดเร็ว สามารถแยกส่วนหรือโมดูลาร์ มีสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย และมีความยั่งยืน

ภายในงาน ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างเห็นพ้องเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักสำหรับศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต ทั้งนี้ นอกเหนือจากประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Power Usage Effectiveness: PUE) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว ยังมีตัวชี้วัดหลักอื่น ๆ อย่างเช่น ประสิทธิภาพการใช้คาร์บอน (Carbon Usage Effectiveness: CUE) ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Usage Effectiveness: WUE) ประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ (Space Usage Effectiveness: SUE) ประสิทธิภาพการใช้กริด (Grid Usage Effectiveness: GUE) และการปล่อยมลพิษตลอดวัฏจักรชีวิตที่ต่ำลง ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้จะส่งผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมเช่นกัน ศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคตจะมีคุณสมบัติ ได้แก่ การใช้พลังงานหมุนเวียนสูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง ความน่าเชื่อถือสูง และการจัดการที่ชาญฉลาด

หัวข้อ 2: นวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานและการระบายความร้อนสำหรับศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต

ระบบจ่ายไฟและระบบระบายความร้อนเป็นส่วนสำคัญของศูนย์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมงานนี้เชื่อว่าศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคตจะใช้สถาปัตยกรรมระบบจ่ายไฟที่เรียบง่ายมากเป็นพิเศษ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน การระบายความร้อนตามธรรมชาติ และการระบายความร้อนด้วยน้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก การประสานระหว่าง "การผลิตไฟฟ้า-กริดไฟฟ้า-การใช้ไฟฟ้า-การกักเก็บไฟฟ้า" (Generation-Grid-Load-Storage) จึงจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาศูนย์ข้อมูลคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและนโยบายการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ จึงคาดว่าศูนย์ข้อมูลจะเปลี่ยนจากศูนย์ที่ใช้พลังงานสูงเป็นศูนย์จ่ายพลังงาน

หัวข้อ 3: การทำให้อุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูลเป็นระบบอัตโนมัติ

สุดท้าย เมื่อพูดถึงการจัดการอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะถูกรวมเข้ากับระบบจ่ายไฟและระบบระบายความร้อนเพิ่มมากขึน เพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) ส่งผลให้ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ยังถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับ PUE และในยุคของกฎระเบียบด้านคาร์บอน เทคโนโลยีดิจิทัลทวิน (Digital Twin) จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลสามารถจัดการคาร์บอนได้อย่างถูกต้องและเห็นภาพชัดเจนตลอดวงจรชีวิต

ขณะเดียวกัน จะมีการนำปัญญาสะสม (Collective Intelligence) มาใช้เพื่ออนาคตที่สดใสของการพัฒนาอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูล เฟย เจินฝู (Fei Zhenfu) ซีทีโอของหัวเว่ย ดาต้าเซ็นเตอร์ ฟาซิลิตี้ กล่าวสรุปว่า หัวเว่ยจะยังคงสร้างความก้าวหน้าในด้านโซลูชั่นศูนย์ข้อมูล โดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ตลอดจนร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคตต่อไป

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1796298/image_1.jpg

แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: