Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 “วีเมด” เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ “บล็อกเดมอน”
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 571
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : “วีเมด” เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ “บล็อกเดมอน”
วันที่โพสท์ : 04 Aug 2022 13:32  
ตอบโดยอ้างถึง  



วีเมดผนึกกำลังบล็อกเดมอน หนุนอีโคซิสเต็มวีมิกซ์ 3.0 ให้เติบโตก้าวหน้า
บล็อกเดมอนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มวีมิกซ์ โหนด เคาน์ซิล พาร์ทเนอร์ชิป หรือ 40 วอนเดอร์ส
ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว บล็อกเดมอนจะมอบโครงสร้างพื้นฐานด้านโหนด รองรับการเพิ่มข้อกำหนดทางเทคนิค การให้คำปรึกษา และความมั่นคงปลอดภัยในเชิงกลยุทธ์
วีเมด (Wemade) ผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาเกม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบล็อกเดมอน (Blockdaemon) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชนเกรดสถาบัน เพื่อสนับสนุนอีโคซิสเต็มวีมิกซ์3.0 (WEMIX3.0) ให้เติบโตก้าวหน้า

บล็อกเดมอนได้กลายเป็นสมาชิกรายที่ 7 ของกลุ่มวีมิกซ์ โหนด เคาน์ซิล พาร์ทเนอร์ชิป (Wemix Node Council Partnership หรือ NCP) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "40 วอนเดอร์ส" (40 WONDERS) เช่นกัน ถัดจากวีเมด, เคลย์ตัน (Klaytn), เนเวอร์ คลาวด์ (Naver Cloud), ล็อกตู เกม (Logtu Game), กาเกา เกมส์ (Kakao Games) และเอสเค สแควร์ (SK Square) บล็อกเดมอนซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานแกนหลัก จะกลายเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจรายหนึ่งในอีโคซิสเต็มวีมิกซ์3.0 และผู้ขับเคลื่อนให้เมนเน็ตบล็อกเชนของวีเมดกระจายศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเงื่อนไขของบันทึกความเข้าใจนี้ยังเปิดช่องทางให้รองรับการเพิ่มข้อกำหนดทางเทคนิค การให้คำปรึกษา และความมั่นคงปลอดภัยในเชิงกลยุทธ์ด้วย

'โหนดสแต็ก' ของบล็อกเดมอน ซึ่งมีขึ้นเมื่อปี 2560 รองรับได้ถึง 55 โปรโตคอล รวมถึงโปรโตคอล proof-of-stake รวม 31 รายการ เช่น อีทีเอช 2.0 (ETH 2.0), โพลกาดอท (Polkadot), เทซอส (Tezos), โพลีกอน/มาติก (Polygon/Matic), คาร์ดาโน (Cardano) ทั้งยังมีฟีเจอร์เอ็นเอฟที เอพีไอ (NFT API) จากชุดเอพีไอยูบิควิตี (Ubiquity) พร้อมให้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น โครงสร้างพื้นฐานโหนด การทำสเตกกิ้ง การชำระเงิน และการใช้เอพีไอเข้าถึงข้อมูลบนเชน นอกจากนี้ บล็อกเดมอนยังได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001:2017 เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือเป็นการยอมรับระบบความปลอดภัยของข้อมูลมาตรฐานระดับทองคำ โดยบล็อกเดมอนยังคงเดินหน้าพัฒนาแนวทางที่ 'ความปลอดภัยต้องมาก่อน' เพื่อให้บริษัทต่าง ๆ เริ่มต้น ผลักดัน และยกระดับบริการคริปโทฯ ของตนได้

"ปัจจุบัน วีมิกซ์3.0 กำลังร่วมมือกับบริษัทและโปรเจกต์ระดับโลกมากมาย เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรในโหนด เคาน์ซิล เราจึงมีความยินดีอย่างยิ่งในการต้อนรับบล็อกเดมอนและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชนระดับโลกของบล็อกเดมอน" คุณเฮนรี ชาง (Henry Chang) ซีอีโอของวีเมด กล่าว "เราจะนำสเตเบิลคอยน์ที่มีสินทรัพย์รองรับ 100% อย่าง WEMIX$ และโหนด เคาน์ซิลที่มีความโปร่งใสไปใช้ ในการพัฒนาสู่การเป็นเมนเน็ตที่ยั่งยืนและเปิดกว้างกว่าเดิม"

คุณแอนดรูว์ ฟรานเจส (Andrew Vranjes) ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและรองประธานฝ่ายขายของบล็อกเดมอน กล่าวว่า "เรารู้สึกตื่นเต้นในการร่วมมือกับวีเมดเพื่อสนับสนุนวีมิกซ์3.0 และเราหวังที่จะช่วยชุมชนวีเมดเสริมความแข็งแกร่งให้อีโคซิสเต็มวีมิกซ์ตามกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาว"

วีเมดก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 เป็นบริษัทเกมจากเกาหลีใต้ เจ้าของเกม "เดอะ เลเจนด์ ออฟ เมีย 2" (The Legend of Mir 2) ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้ทางบริษัทกำลังให้บริการเกมบนแพลตฟอร์มเกมบล็อกเชนแบบเปิดอย่างวีมิกซ์ และออกเหรียญที่ใช้งานหลักอย่างวีมิกซ์ โทเคน (WEMIX Token) ทั้งนี้ วีเมดหวังใช้วีมิกซ์3.0 สร้างเมก้าอีโคซิสเต็มที่มุ่งเน้นบริการโดยมีแพลตฟอร์มขับเคลื่อน ซึ่งเมนเน็ต, วีมิกซ์ เพลย์ (WEMIX PLAY), วีมิกซ์ ดีไฟ เซอร์วิส (WEMIX DeFi Service) และแพลตฟอร์มแบบ DAO อย่างไนล์ (NILE) อยู่ร่วมกันได้

นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา วีเมดได้ดำเนินการทดสอบเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับแพลตฟอร์มวีมิกซ์3.0 และมีแผนเปิดตัวเมนเน็ตหลังตรวจสอบยืนยันเทสต์เน็ตแล้ว

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1870272/Imge1.jpg
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: