Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 คุณคิดว่า WEB นี้เป็นงัยบ้าง
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 4016
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
อัจจิมา
ผู้มาเยือน






หัวข้อ : คุณคิดว่า WEB นี้เป็นงัยบ้าง
วันที่โพสท์ : 02 Sep 2008 18:01  
ตอบโดยอ้างถึง  

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ให้มีความหมายชัดเจนขึ้นคำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 9 ชนิด คือ
1. สักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะ ชนิด ขนาด สี เสียง กลิ่น รส อาการ เป็นต้น เช่น
ดอกจำปีมีกลิ่นหอม
เจี๊ยบมีรถยนต์คันใหม่
น้อยหน่ามีดอกไม้สีแดง
แมวตัวนี้มีขนนุ่ม
ในสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่ว แจ๊คชอบทานอาหารเผ็ด
2. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต เช้า สาย บ่าย ค่ำ เป็นต้น เช่น
ครั้นเวลาค่ำลมก็พัดแรง
คนโบราณชอบดูหนังตะลุง
วันสอบนักเรียนมักจะมาเช้า
3. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่หรือระยะทาง ได้แก่คำว่า ใกล้ ไกล เหนือ ใต้ ขวา ซ้าย หน้า บน หลัง เป็นต้น เช่น
โรงเรียนอยู่ไกล
เขาอาศัยอยู่ชั้นล่าง
บอยเดินไปทางทิศเหนือ
ไก่เป็นสัตว์บก
4. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ ได้แก่คำว่า มาก น้อย หมด หนึ่ง สอง หลาย ทั้งหมด จุ เป็นต้น เช่น
สุนัขที่เลี้ยงไว้กินจุทั้งสิ้น
มาโนชมีเรือหลายลำ
เขาไม่มีโรงเรียนหลายวัน
คุณดื่มเบียร์มากไปไม่ดีนะ
5. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะแน่นอน ได้แก่คำว่า นี่ โน่น นั่น นี้ นั้น โน้น แน่ เอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้ เป็นต้น เช่น
กระเป๋านี้ฉันทำเอง
พริกเองเป็นคนเล่าให้เพื่อนฟัง
แก้วนี้ต้องทำความสะอาดอย่างนี้
ตึกนี้มีคนขายแล้ว
6. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า อันใด อื่น ใด ไย ไหน อะไร เช่นไร เป็นต้น เช่น
คนไหนอาบน้ำก่อนก็ได้
ซื้อขนมอะไรมาโฟกัสกินได้ทั้งสิน
ตี่จะหัวเราะทำไมก็ช่างเขาเถอะ
คนอื่นๆกลับบ้านไปหมดแล้ว
7. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถามหรือความสงสัย ได้แก่คำว่า ใด อะไร ไหน ทำไม เป็นต้น เช่น
ผลไม้อะไรที่แน็คซื้อมาให้ฉัน
สุนัขใครน่ารักจัง
8. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงถึงการขานรับในการเจรจาโต้ตอบกัน ได้แก่คำว่า จ๋า ค่ะ ครับ ขอรับ ขา วะ จ๊ะ เป็นต้น เช่น
หนูจ๊ะรถทัวร์จะออกเดี๋ยวนี้แล้ว
คุณตัดเสื้อเองหรือค่ะ
คุณแม่ขาหนูทำจานแตกค่ะ
ผมจะไปพบท่านขอรับ
9. ประติวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความปฏิเสธไม่ยอมรับ ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ บ่ เป็นต้น เช่น
เขาตามหาหล่อนแต่ไม่พบ
พี่ไม่ได้แกล้งน้องนะ
ความรู้มิใช่ของหาง่ายนะเธอ
เธอไม่ปลูกต้นไม้เลย
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ มักจะทำหน้าที่เป็นส่วยขยายในประโยค
1. ขยายนาม เช่น เด็กดีมีวาจาไพเราะ ห้องเก่าทาสีใหม่ เป็นต้น
2. ขยายคำสรรพนาน เช่น ท่านทั้งหลายกรุณาพร้อมใจไปเลือกตั้ง เป็นต้น
3. ขยายคำกริยา เช่น อ๊อฟกินอาหารมากเกินไป โอเล่พูดเพราะมาก เป็นต้น
4. ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เขาทำงานหนักมาก ฉันทำเองจริงๆ เป็นต้น
5. เป็นคำอกรรมกริยา หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมได้ด้วย เช่น น้อยหน่าสวยแต่โฟกัสฉลาด เด็กคนนั้นผอมจัง เป็นต้น

คำบุพบท คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย ฯลฯ
หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท
1. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
2. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
3. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
4. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
5. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน
หลักการใช้คำบุพบทบางคำ
" กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น ฉันเห็นกับตา
"แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น ครูให้รางวัลแก่นักเรียน
"แด่" ใช้แทนตำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น นักเรียนมอบพวงมาลัยแด่อาจารย์
"แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น เขามาแต่บ้าน
"ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะหน้าถัดไป เทียบจำนวน เป็นต้น เช่น เขายื่นคำร้องต่อศาล
คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น
ครูทำงานเพื่อนักเรียน
เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน
ชนิดของคำบุพบท คำบุพบทแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้
- บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของฉันซื้อสวนของนายฉลอง ( นามกับนาม )
บ้านของเขาใหญ่โตแท้ๆ ( นามกับสรรพนาม )
อะไรของเธออยู่ในถุงนี้ ( สรรพนามกับสรรพนาม )
- บอกความเกี่ยวข้อง
เธอต้องการมะม่วงในจาน ( นามกับนาม )
พ่อเห็นแก่แม่ ( กริยากับนาม )
ฉันไปกับเขา ( กริยากับสรรพนาม )
- บอกการให้และบอกความประสงค์
แกงหม้อนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร ( นามกับกริยา )
พ่อให้รางวัลแก่ฉัน ( นามกับสรรพนาม )
- บอกเวลา
เขามาตั้งแต่เช้า ( กริยากับนาม )
เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว ( นามกับนาม )
- บอกสถานที่
เธอมาจากหัวเมือง ( กริยากับนาม )
- บอกความเปรียบเทียบ
เขาหนักกว่าฉัน ( กริยากับนาม )
เขาสูงกว่าพ่อ ( กริยากับนาม )
2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น
ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน
ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด
ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้
ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท
1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
เขามุ่งหน้าสู่เรือน
ป้ากินข้าวด้วยมือ
ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
เขาเป็นลูกฉัน ( เขาเป็นลูกของฉัน )
แม่ให้เงินลูก ( แม่ให้เงินแก่ลูก )
ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมาก )
3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม
เขานั่งหน้า ใครมาก่อน
ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง
ตำแหน่งของคำบุพบท ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้
1. นำหน้าคำนาม
เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา
เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
2. นำหน้าคำสรรพนาม
เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา
เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
3. นำหน้าคำกริยา
เขาเห็นแก่กิน
โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้
4. นำหน้าคำวิเศษณ์
เขาวิ่งมาโดยเร็ว
เธอกล่าวโดย

สันธาน แปลว่า การต่อหรือเครื่องต่อ คำสันธาน หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมต่อหรือเชื่อมประโยคให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน โดยสันธานอาจจะเชื่อมคำกับคำเชื่อมประโยคต่อประโยค หรือเชื่อมข้อความกับข้อความ(วลี)
ลักษณะของคำสันธาน
1. สันธานอาจจะอยู่หน้าหรือกลางประโยคก็ได้ ตัวอย่างเช่น
สันธานเชื่อมอยู่กลางประโยค
แดงไม่สบายดังนั้นจึงไม่ไปโรงเรียน
พ่อไปตลาดแต่แม่ไปโรงเรียน
เธอจะไปโรงเรียนหรือจะไปตกปลา
สันธานเชื่อมอยู่หน้า
เพราะแดงไม่สบายจึงไม่ไปโรงเรียน
สมมุติว่าฉันเป็นเศรษฐีฉันจะช่วยเหลือเด็กยากจน
2. คำสันธานอาจจะใช้คำเดียวโดด ๆ หรือหลายคำหรือคำที่แยกจากกันได้ ตัวอย่างเช่น
คำเดียวโดด ๆ เช่น ฉันรักเธอแต่เธอไม่รู้
เขาไม่มาโรงเรียนเพราะต้องเฝ้าบ้าน
คำหลายคำ เช่น เขาไม่สบายเพราะฉะนั้นจึงไม่ไปโรงเรียน
แดงต้องเฝ้าบ้านไม่เช่นนั้นต้องไปตลาด
คำแยกจากกันได้ เช่น เพราะแดงไม่สบายจึงไม่ไปโรงเรียน
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
3. ประโยคที่มีคำสันธานเชื่อม สามารถแยกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป ตัวอย่างเช่น
ฉันรักเธอแต่เธอไม่รู้ แยกออกได้ 2 ประโยคคือ
1. ฉันรักเธอ
2. เธอไม่รู้
แดงไม่สบายดังนั้นจึงไม่ไปโรงเรียน
แยกออกได้ 2 ประโยคคือ
1. แดงไม่สบาย
2. แดงไม่ไปโรงเรียน
ข้อสังเกต
1. คำสันธานในภาษาไทยนั้นมีมาก และต่าง ๆ ชนิดกัน ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน จึงจะทราบได้ว่าอยู่ในชนิดใด
2. คำบางคำอาจใช้เป็นคำสันธานหรือคำบุพบทก็ได้ ต้องอาศัยการพิจารณาจากรูปประโยค เช่น
พ่อกับแม่ไปต่างประเทศ กับ เชื่อม 2 ประโยคเข้าด้วยกัน คือ
1. พ่อไปต่างประเทศ
2. แม่ไปต่างประเทศ
เพราะฉะนั้น กับ เป็นคำสันธาน
พ่อไปต่างประเทศกับแม่ กับ เชื่อมประโยคกับคำเข้าด้วยกัน
เพราะฉะนั้น กับ เป็นคำบุพบท
แดงไม่ไปโรงเรียนเพราะป่วยเพราะ เชื่อม 2 ประโยคเข้าด้วยกัน คือ
1. แดงไม่ไปโรงเรียน
2. แดงป่วย
เพราะฉะนั้นเพราะ เป็นคำสันธาน
ปลาหมอตายเพราะปาก เพราะ เชื่อมประโยคกับคำเข้าด้วยกัน
เพราะฉะนั้นเพราะ เป็นคำบุพบท
คำสันธานแบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ
1. สันธานเชื่อมความคล้อยตามกัน
2. สันธานเชื่อมความขัดแย้งกัน
3. สันธานเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน
4. สันธานเชื่อมความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. สันธานเชื่อมความต่างตอนกัน
6. สันธานเชื่อมความเปรียบเทียบ
7. สันธานเชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้
8. สันธานเชื่อมความให้สละสลวย
1. สันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน หมายถึง คำที่เชื่อมแล้วเกิดความคล้อยตามกัน เช่นคำว่า และ กับ จึง ทั้ง...ก็ ทั้ง...และ ทั้ง...กับ ครั้น...จึง ครั้น...ก็ พอ...ก็ ก็...จึง ก็...คือ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ทั้งนักเรียนและครูชอบฟังดนตรี
พอฝนหายโรงเรียนก็เลิกพอดี
หน่อยและหนิงเป็นนักกีฬาทีมชาติ
ครั้นได้เวลาเธอก็ออกไปพูดหน้าเวที
พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าฝูงนกกาก็บินกลับรัง
พระอภัยมณีละศรีสุวรรณเป็นตัวเอกในเรื่องพระอภัยมณี
ราตรีเป็นทั้งนักเรียนและดาราที่มีคุณภาพ
พอฉันออกจากห้องก็พบเขา
ใครมาซื้อก่อนก็ให้ก่อน
เบิร์ดกับฮาร์ทเป็นนักร้องขวัญใจของฉัน
ตากับยายอยู่ตามลำพัง
เป็ดและไก่เป็นสัตว์ปีกที่มีประโยชน์
2. สันธานเชื่อมความขัดแย้งกัน หมายถึง คำที่เชื่อมแล้วเกิดความขัดแย้งกัน เช่นคำว่า แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ถึง...ก็ แม้ว่า...ก็ เป็นต้น เช่น
เขาอยากเรียนเก่งแต่เขาไม่ยอมอ่านหนังสือ
แม้ว่าเขาจะร่ำรวยแต่เขาก็ไม่ยอมทำบุญ
นักคุ้มเป็นคนฉลาดแต่ขาดความเฉลียว
ถึงจะไม่มีใครรังแกจ้อยก็มีศิษย์วัดเก่า ๆ เกลียดชังจ้อย
เขาอยากรวยแต่ทว่ากลับใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย
ถึงฝนจะตกหนักเขาก็เดินฝ่าสายฝนกลับบ้าน
กว่าตำรวจจะมาคนร้ายก็หนีไปไกลแล้ว
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
กว่ารถดับเพลิงจะมาบ้านก็วอดไปทั้งหลังแล้ว
แม้ว่าดอกกล้วยไม้จะมีราคาแพงแต่ก็สวยทน
เขาอยากประสบความสำเร็จแต่เขาไม่พยายาม
แม้เขาไม่ให้ฉันไปเยี่ยมเจ้าคุณปู่แต่ฉันก็จะไป
3. สันธานเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน หมายถึง คำที่เชื่อมแล้วเกิดความ เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน เช่นคำว่า เพราะ ด้วย เพราะเหตุว่า เพราะ...จึงดังนั้น...จึง เพราะฉะนั้น เป็นต้น เช่น
เพราะฝนตกหนักน้ำจึงท่วม
เขารอดพ้นมาเพราะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
มะม่วงปีนี้ไม่มีผลเพราะไม่ได้รับการบำรุง
เพราะเจ้านายใช้เขาจึงต้องไปตามคำสั่ง
วิรัชไม่เชื่อฟังบิดาเพราะฉะนั้นเขาจึงได้รับบทเรียนที่เจ็บปวดยิ่ง
เขาเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ด้วยการไม่ยอมแพ้แก่สิ่งต่าง ๆ
เพราะป่าไม้มีคุณค่าฉะนั้นเราจึงอย่าทำลาย
ปลาช่อนต้องโผล่ขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ มันจึงถูกชาวบ้านดักยิง
เขาไม่ค่อยได้ออกกำลังกายดังนั้นเขาจึงไม่แข็งแรง
เพราะฝนแล้งต้นไม้จึงตาย
มัจฉานุมีความกตัญญูต่อไมยราพฉะนั้นจึงไม่ยอมบอกทางไปเมืองบาดาลแก่หนุมาน
4. สันธานเชื่อมความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง คำเชื่อมแล้วทำให้เกิดความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นคำว่า มิฉะนั้น หรือ...มิฉะนั้น มิฉะนั้น...ก็ หรือไม่ก็ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
เธอสมัครเรียนจุฬาหรือธรรมศาสตร์
สมชายต้องทำการบ้านมิฉะนั้นจะถูกตี
จงกินขนมนี้ให้หมดมิฉะนั้นก็เก็บเอาไว้
คุณจะเรียนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
คุณจะทานข้าวหรือขนมปัง
ไม่เธอก็ฉันต้องจ่ายค่าอาหารมื้อนี้
เราต้องเลิกทะเลาะกันมิฉะนั้นงานนี้จะไม่เสร็จ
ลูกต้องทำการบ้านหรือไม่ก็ช่วยแม่กวาดบ้าน
จ้อยต้องการเรียนหนังสือหรือเป็นนักมวย
เราต้องช่วยเขาไม่เช่นนั้นเขาต้องตาย
5. สันธานเชื่อมความเปรียบเทียบ หมายถึง คำที่เชื่อมแล้วเกิดความเปรียบเทียบ เช่นคำว่า ดุจ ดุจดัง ประหนึ่ง ประหนึ่งว่า ราวกับ เพียง เพียงดังว่า เหมือน เสมือน คล้าย คล้ายกับว่า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ครูใหญ่เสียงดังดุจฟ้าผ่า
เธอหวงลูกเหมือนจงอางหวงไข่
พ่อแม่รักลูกเพียงดังรักแก้วตา
หล่อนรักเขามากเหมือนแม่เสือหวงลูกอ่อน
จงรักษาความดีประดุจเกลือรักษาความเค็ม
ครูตั้งใจสอนนักเรียนประหนึ่งพ่อสอนลูก
เขาทะนุถนอมเธอประหนึ่งว่าเธอเป็นไข่ในหิน
แดงเกเรราวกับเปรตมาเกิด
เขาพูดค่อยเพียงเสียงลมพัด
เขาร้อนเพียงดังว่าอยู่กลางทะเลทราย
แดงหล่อเหมือนเทพบุตรจุติ
เขาทำตัวเสมือนหมาหวงกระดูก
6. สันธานเชื่อมความต่างตอนกัน หมายถึง คำที่เชื่อมแล้ว ทำให้เกิดการ แบ่งออกจากกันเป็นส่วนหรือตอน เช่นคำว่า ฝ่าย ส่วน อนึ่ง อีกประการหนึ่ง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
พี่ชอบเรียนภาษาไทยส่วนน้องชอบผัดไทย
ฝ่ายหนึ่งคอยบุกฝ่ายหนึ่งคอยรับ
ครูมีหน้าที่สอนส่วนนักเรียนมีหน้าที่เรียน
ฝ่ายคนร้ายเมื่อเห็นตำรวจก็วิ่งหนี
แดงเป็นคนแก่อีกประการหนึ่งคือคนชรา
สมศักดิ์ชอบเรียนฝ่ายสมเพียรชอบเล่น
อนึ่งการแต่งงานแต่งการสมัยนี้ต้องดูฤกษ์ดูยามให้ดี
7. สันธานเชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้ หมายถึง คำสันธานที่เชื่อมแล้วทำให้เกิดความแบ่งรับแบ่งสู้ เช่นคำว่า ถ้า ถ้าหากว่า ผิว่า แม้น แม้นว่า ต่างว่า สมมุติว่า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ถ้าฉันมีเงินเป็นล้านฉันช่วยเหลือเด็กยากจน
ฉันจะช่วยเหลือเด็กยากจนถ้าหากว่าฉันมีเงินเป็นล้าน
หากฉันบินบินไปได้ดังนกฉันจะบินบินไปในนภา
ถ้าฝนไม่ตกฉันก็จะรีบไป
สมมุติว่าฉันเป็นเขาทราย ฉันจะไม่แสดงละครเป็นตุ๊ด
ถ้าเธอมีหัวใจเหมือนฉันสักหน่อยเธอคงไม่ปล่อยให้ฉันต้องคอยอย่างนี้
หากแม้นหัวใจฉันเป็นกระดาษป่านนี้คงขาดไม่มีชิ้นดี
แม้นว่าฉันไม่หล่อเธอคงยิ่งกว่าฉัน
แม้นว่าเธอหล่อโลกนี้คงหยุดหมุน
8. สันธานเชื่อมความให้สละสลวยหมายถึง คำสันธานที่ใช้เชื่อมเพื่อให้เนื้อความมีความเด่นไพเราะสละสลวย เช่นคำว่า อย่างไรก็ดี อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุดแต่ว่า ทำไมกับ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
คนเราอาจจะผิดหวังได้ทำไมกับเรื่องแค่นี้ต้องมาเสียใจ
เขาลำบากมากอย่างไรก็ตามฉันก็ต้องช่วยเขา
แดงเป็นคนเรียนเก่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาก็เล่นเก่งด้วย
เลขข้อนี้ยากอย่างไรก็ดีครูอธิบายให้นักเรียนได้เข้าใจจนได้
ครูอธิบายละเอียดแล้วอย่างไรก็ตามนักเรียนต้องตั้งใจทำ
เชิญทำบุญตามแต่จิตศรัทธาสุดแต่ว่าใครจะมีกำลังเท่าไร
ละครช่อง 3 ดีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องล่าปีศาจยิ่งดีใหญ่เลย


คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เน้นความรู้สึก
และอารมณ์ของผู้พูด เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนี้ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
1. เป็นคำ เช่น โอ๊ย ว้าย แหม โถ เป็นต้น
2. เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย คุณพระช่วย ตายละว้า เป็นต้น
3. เป็นประโยค เช่น ไฟไหมเจ้าข้า ป้าถูกรถชน เป็นต้น
คำอุทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. อุทานบอกอาการ ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆของผู้พูด เช่น
ร้องเรียก หรือบอกเพื่อให้รู้สึกตัว เช่น แน่น เฮ้ โว้ย เป็นต้น
โกรธเคือง เช่น ชิชะ ดูดู๋ เป็นต้น
ตกใจ เช่น ตายจริง ว้าย เป็นต้น
สงสาร เช่น อนิจจา โถ เป็นต้น
โล่งใจ เช่น เฮ้อ เฮอ เป็นต้น
ขุ่นเคือง เช่น อุวะ แล้วกัน เป็นต้น
ทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ เป็นต้น
เยาะเย้ย เช่น หนอย ชะ เป็นต้น
ประหม่า เช่น เอ้อ อ้า เป็นต้น
ชักชวน เช่น นะ น่า เป็นต้น
2. อุทานเสริมบท คือ คำพูดเสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำ เพื่อเน้นความหมาย ของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เช่น อาบน้ำอาบท่า ลืมหูลืมตา กินน้ำกินท่า ถ้าเนื้อความมีความหมายในทางเดียวกัน เช่น ไม่ดูไม่แล ร้องรำทำเพลง เราเรียกคำเหล่านี้ว่า คำซ้อน
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: