Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 Wi-Fi กับ Wireless?
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Windows Phone Community - วินโดว์ คอมมูนิตี้
ตอบ: 4 / เข้าชม: 7588
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
1212312121
Mobile Member
Mobile Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 25 Nov 2005
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : Wi-Fi ??? Wireless?
วันที่โพสท์ : 25 Nov 2005 20:52  
ตอบโดยอ้างถึง  

ไม่เข้าใจเท่าไหร่อ่าค่ะ?

รบกวนช่วยอธิบายให้สั้นๆได้ใจความด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ ^^
ดาวเดี่ยว
Cool Member
Cool Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 07 Nov 2003
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ :
วันที่โพสท์ : 25 Nov 2005 21:19  
ตอบโดยอ้างถึง  

เอาสั้นๆ นะครับ (เพราะผมก็รู้แบบสั้นๆ)

Wi-Fi ย่อมาจาก "Wi"reless "Fi"delity คนไทยชอบที่จะเรียก Wireless มากกว่า เพราะมันจะได้ไม่ซ้ำกับแก๊ส "ไวไฟ" แต่ทั้ง 2 คือตัวเดียวกัน

แล้ว Wireless กับ Bluetooth ต่างกันอย่างไร?

Wireless เทียบได้กับระบบ LAN (Local Area Network หรือเรียกสั้นๆ ว่า Network) ในองค์กร (หรือตามบ้าน) จะมีเครื่องแม่ (เซิร์ฟเวอร์) หรือไม่มีก็ได้ ต่อให้เครื่องลูก (เรียกว่า เวิร์คสเตชั่น หรือ ไคลเอนท์) หลายเครื่องเข้าด้วยกัน สามารถแชร์ไฟล์ แชร์อินเตอร์เน็ต และแชร์เครื่องพิมพ์ ฯลฯ กันได้ ถ้าเป็นการเชื่อแบบเดินสาย เขาเรียกว่า LAN แต่ถ้าเป็นแบบไร้สาย (มีตัวรับ-ส่งสัญญาณแทนการเดินสาย) เขาก็เรียกว่า Wireless LAN

ส่วน Bluetooth เทียบได้กับ (หรือว่ามาแทนที่) อินฟาเรด (Infared) ครับ อินฟาเรดทำอะไร Bluetooth ก็ทำประมาณนั้น (แต่ในปัจจุบัน Bluetooth ทำได้มากกว่านั้น)

บางคนเรียก Bluetooth ว่า PAN หรือ Personal Area Network คือเป็น Network ส่วนตัว ถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่ง

ส่วน Wireless หรือ Wi-Fi มีมาตรฐานอะไรบ้าง อยากรู้ถามอีกที หรืออาจจะมีใครมาช่วยตอบครับ (เพราะผมก็ไม่ถนัด) แต่ถ้าอยากรู้เอง เข้าไปที่ www.google.co.th พิมพ์คำว่า "Wi-Fi คืออะไร" แล้วคุณจะได้คำตอบเป็นภาษาไทยอย่างละเอียดครับ

สิ่งที่น่าจะทำความรู้จักไว้ปัจจุบัน มี 3 อย่าง คือ

Wireless (Wi-Fi)
Bluetooth
GPRS
GPS

(คนมักจะสับสนระหว่าง GPS กับ GPRS ซึ่งทั้ง 2 ต่างกันโดยสิ้นเชิง ใช้ Google หาคำตอบครับ)
shuvid
New Member
New Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 28 Nov 2005
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ :
วันที่โพสท์ : 28 Nov 2005 15:19  
ตอบโดยอ้างถึง  

แล้ว WLAN หรือ wireless LAN แล้ว WI-FI ต่างกันยังไง

WLAN น่าจะมาจากมาตรฐาน IEEE 802.11b รึเปล่า ?
ดาวเดี่ยว
Cool Member
Cool Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 07 Nov 2003
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ :
วันที่โพสท์ : 28 Nov 2005 16:56  
ตอบโดยอ้างถึง  

shuvid ผู้เขียน:
แล้ว WLAN หรือ wireless LAN แล้ว WI-FI ต่างกันยังไง

WLAN น่าจะมาจากมาตรฐาน IEEE 802.11b รึเปล่า ?


เหมือนกันครับ Wi-Fi, Wireless, Wireless LAN (WLAN) ส่วนมาตรฐาน จนถึงตอนนี้ น่าจะมี 802.11a, 802.11b และ 802.11g

ผมเลยขออนุญาตเอาบทความจาก "กรุงเทพธุรกิจ" โดยคุณ หยาดพิรุณ นุตสถาปนา มาให้อ่านกันเป็นความรู้ ดังนี้ (มีอีกหลายแห่งนะครับ ใช้ Google ค้นหาหากอยากได้แบบละเอียดยิบ)

ไว-ไฟ คืออะไร?

พูดถึง ไว-ไฟ บางคนอาจนึกสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ จริงๆ แล้วไว-ไฟ (wi-fi) ย่อมาจาก Wireless Fidelity เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ด้วยการใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวรับส่งสัญญาณแทนสายเคเบิล และ 802.11b ถือเป็นมาตรฐานไว-ไฟตัวแรก ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้ช่วงความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมพื้นที่ทำการในระยะ 50-100 เมตร

และด้วยเหตุที่ไว-ไฟเป็นเทคโนโลยีแบบ แชร์มีเดีย ทำให้ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้ในวงมากเท่าใด ความเร็วของสัญญาณก็ยิ่งลดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นความเร็วขนาด 11 เมกะบิตที่ว่า พอใช้งานเข้าจริงๆ หลายคนอาจไม่สามารถสัมผัสได้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะห่างของตัวผู้ใช้กับจุดแอคเซสพอยต์เองด้วย โดยผู้ใช้ที่อยู่ไกลจากระยะทำการมาก ความเร็วของสัญญาณที่ผู้ใช้คนนั้นจะได้รับก็จะลดทอนลงไปเรื่อยๆ จาก 5-8 เมกะบิต ก็อาจเหลือเพียง 1 เมกะบิตต่อวินาทีก็เป็นได้

เสาและกำแพงก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่อาจลดทอนความแรงของสัญญาณลงได้ จริงๆ แล้วแอคเซสพอยต์ 1 จุด น่าจะรองรับผู้ใช้ได้ที่ประมาณ 50 คน หากคนใช้มากขึ้นสปีดจะลดลง แนวทางการแก้ไขก็คือติดตั้งแอคเซสพอยต์เพิ่มเพื่อแชร์โหลด ดร.อนันต์ แนะทางออก

นอกจาก 802.11b แล้ว ยังมีมาตรฐานในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายตัว อาทิ 802.11a และ 802.11g แต่ในบ้านเราอาจไม่สามารถใช้งาน 802.11a ที่มีความเร็วสูงถึง 54 เมกะบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากส่งสัญญาณในย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ส่วน 802.11g ไม่มีปัญหาอะไร เพราะใช้ย่านความถี่เดียวกับ 802.11b แต่ต่างกันตรงที่เร็วกว่ากันถึง 5 เท่า

ความสำเร็จในการใช้ไว-ไฟใน ม.เกษตรศาสตร์ สะท้อนให้เห็นอำนาจอีกด้านของตัวเทคโนโลยีที่สามารถปฏิวัติวิถีชีวิตของคนที่นั่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

"ตอนนี้ใครมีโน้ตบุ๊คแต่ไม่มีเน็ตเวิร์คการ์ด ก็สามารถไปขอยืมที่ห้องสมุดได้เลย เหมือนยืมหนังสือทั่วไป เวลาจะใช้ก็ง่ายมาก แค่เข้าไปที่ล็อกอินเวบไซต์ใส่ยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ดที่เป็นแอคเคาน์ของนนทรีปกติ แค่ 3 วินาที พอลงทะเบียนปุ๊บก็ใช้งานได้เลย" ดร.อนันต์ อธิบายขั้นตอนการเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สายอย่างง่ายๆ

จิรเดชเล่าถึงความเคลื่อนไหวใน ม.เกษตรฯ ให้ฟังว่า ปัจจุบันใครคิดจะซื้อโน้ตบุ๊คสักเครื่อง จะต้องดูก่อนว่ามีไวร์เลสการ์ดมาให้ด้วยหรือเปล่า เพราะนั่นถือเป็นใบเบิกทางสำคัญที่จะพาเราเข้าสู่โลกออนไลน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด

แล้วนิสิตที่ไม่มีเงินจะซื้อล่ะ จะหาว่ากันเชยหรือเปล่า...

ไม่ยากเลยพี่ แค่ไปหาซื้อโน้ตบุ๊คถูกๆ มา ไม่จำเป็นต้องเอารุ่นที่มีไวร์เลสการ์ดในตัวหรอก พอจะใช้ไวร์เลสก็เอาสายแลนมาเชื่อมโน้ตบุ๊ครุ่นเก่ากับโน้ตบุ๊คที่มีไวร์เลสการ์ด มันก็จะทำหน้าที่เป็นตัวแม่จ่ายแลนไปให้เครื่องที่ไม่มีการ์ดไวร์เลส เท่านี้ก็เล่นเน็ตได้แล้ว สองหนุ่ม ม.เกษตรฯ ช่วยกันตอบ

กลายเป็นว่าตอนนี้เดินไปที่ไหนก็จะเห็นนิสิตเกษตรฯ จับกลุ่มนั่งอยู่หน้าจอโน้ตบุ๊คกันเป็นทิวแถว...ให้บรรยากาศเหมือนกับมหาวิทยาลัยในต่างแดนก็ไม่ปาน

นอกจาก ม.เกษตรฯ แล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่งที่เริ่มติดตั้งแอคเซสพอยต์กันบ้างแล้ว อย่างมหาวิทยาลัยชินวัตรก็ยืนยันว่าภายในปีนี้นักศึกษาจะสามารถใช้งานไว-ไฟได้อย่างแน่นอน

"ตอนนี้ติดตั้งแอคเซสพอยต์เพียง 4-5 จุด ให้ผู้บริหารได้ใช้งานกันก่อน แต่ภายในปีนี้คาดว่าขั้นต้นจะติดตั้งเพิ่มอีก 30 จุด ในส่วนของอาคารที่มีนักศึกษาเดินไปมา และอาคารเรียนต่างๆ" อนุรักษ์ เชิดสุริยา ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ ม.ชินวัตร กล่าว

เขาเชื่อว่า เทคโนโลยีนี้ จะทำให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลได้สะดวกขึ้น ไม่จำกัดว่าต้องอยู่กับที่เหมือนการศึกษารูปแบบเก่า

"ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีตัวนี้ คือความยืดหยุ่น ไม่ต้องลากสายแลนให้เกะกะ อย่างในห้องประชุมตอนนี้ผู้บริหารแต่ละคนสามารถหิ้วโน้ตบุ๊คมาได้เอง ไม่ต้องกลัวว่าคอมพิวเตอร์จะไม่พอใช้เหมือนก่อน เพราะแอคเซสพอยต์จุดเดียวรองรับผู้ใช้ 30 คนได้สบายๆ"

ได้ยินอย่างนี้แล้ว หลายคนคงอยากติดตั้งไวร์เลสแลนใช้งานในองค์กรบ้าง ดร.อนันต์ แนะนำว่า ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาในรอบด้าน เพราะหากเรามีเครื่อง 5 เครื่องไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหนเลย ลงแลนปกติน่าจะคุ้มกว่า เนื่องจากเงินลงทุนต่ำแต่ให้ความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในกรณีที่เริ่มมีการใช้งานแบบเคลื่อนที่มากขึ้น อย่างในงานแสดงสินค้า รูปแบบของแลนไร้สาย ก็น่าจะเหมาะสม เพราะไม่ต้องเสียเวลาลากสายและรื้อสายทิ้งเมื่อเสร็จงาน

สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง โดยปกติแอคเซสพอยต์ 1 จุด รวมอุปกรณ์ และสายแล้วมีต้นทุนราว 3-4 หมื่นบาท ขณะที่เครือข่ายแลนจะคิดค่าลากสายไปยังเครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่องเป็นหลัก เช่น หากมีลูกข่าย 10 เครื่อง ก็จะต้องลากสาย 10 เส้น แต่ถ้าเป็นแลนไร้สาย ติดตั้งแอคเซสพอยต์จุดเดียวก็ครอบคลุมทั้ง 10 เครื่อง เพียงแต่ว่าตัวอุปกรณ์ไวร์เลสการ์ดจะแพงกว่าตัวการ์ดที่เป็นอีเธอร์เน็ตกว่า 2 เท่าตัว

นอกจากนี้ควรเลือกลงทุนกับ 802.11b น่าจะเหมาะที่สุด ไม่ควรก้าวกระโดดไป 802.11g ทันที เพราะราคาอุปกรณ์ยังแพงกว่ากันมาก และระบบ 802.11b สามารถใช้งานไปได้อีกราว 2 ปี หากภายหลังคิดจะเปลี่ยนไปใช้ 802.11g เพื่อสัมผัสความเร็วที่สูงขึ้นจาก 11 เมกะบิต เป็น 54 เมกะบิต ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะการอัพเกรดจากบีไปจีนั้นทำได้ 2 กรณี คือแทนที่ของเดิมทั้งหมด กับเปลี่ยนมาใช้แบบ 802.11b/g ที่รองรับการใช้งานทั้ง 2 มาตรฐาน ช่วยให้ผู้ใช้เก่า (บี) และใหม่ (จี) สามารถใช้งานได้เหมือนกัน

"อาจไม่ถึงกับว่าต้องเอาไวร์เลสแลนเข้ามาแทนที่ เพราะทั้งสองระบบต่างก็เป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน เช่น จุดไหนที่เดินสายลำบากก็เอาไวร์เลสไปแทน สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้ แต่ถ้าดูจากสปีด ณ ตอนนี้ 802.11b เทียบแลนไลน์ไม่ได้เลย" ดร.หนุ่มจากรั้วนนทรี กล่าว

เติมสีสันด้วย ฮอทสปอต

ใช่ว่าวิถีชีวิตดิจิทัลแบบไร้สายจะจำกัดวงเฉพาะแค่ในมหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานเท่านั้น ตอนนี้บรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ต่างเดินหน้าติดตั้ง "ฮอทสปอต" (hotspot) หรือบริเวณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ชุมชน อย่างแหล่งชอปปิง โรงแรมชั้นนำ สนามบิน หรือแม้แต่ภายในร้านอาหาร และร้านกาแฟกันยกใหญ่ นัยว่าเพื่อเอาใจพลเมืองชาวเน็ตโดยเฉพาะ คาดว่าภายในปีนี้ น่าจะมีฮอทสปอตเกิดขึ้นนับร้อยแห่งทั่วไทย

นุช นักธุรกิจสาววัย 30 ต้นๆ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ทดลองใช้ เอ็ม-เว็บ ฮอทสปอต ที่เปิดบริการฟรีสำหรับลูกค้าสตาร์บัคส์ เธอบอกว่า ปกติชอบเล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว เพราะทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทำให้ต้องเข้าไปหาข้อมูลเพื่ออัพเดทตัวเองตลอดเวลา

ดีนะคะ เพราะไม่ต้องกังวลว่ามานั่งกินกาแฟที่นี่แล้วจะพลาดการติดต่อ อย่างเพื่อนอยากเอากรุ๊ปทัวร์จากเกาหลีมาลง ส่งอีเมลมาบอก เราก็สามารถนั่งเช็คและคอนเฟิร์มกันที่นี่ได้เลย สะดวกดี

แต่หากต้องเสียเงินขึ้นมาล่ะ เธอยังจะใช้บริการอีกหรือเปล่า…

"เห็นเพื่อนบอกว่าบางที่คิดแพงมาก ชั่วโมงหนึ่งเป็นร้อย แต่กับตัวเองไม่น่าจะมีปัญหา เพราะถ้าเทียบตัวเงินที่เสียไปกับความสะดวกที่ได้กลับมา ถือว่าคุ้มค่ะ" นุชยิ้มกว้างก่อนจะขอตัวกลับไปเช็คอีเมลต่อ

อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายภายใต้ชื่อบริการ "Shin Hotspot" มองว่า ไว-ไฟไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ต้องเกิด

แฟชั่นมา 6 เดือนหรือ 1 ปีก็หายไป แต่ตัวเทคโนโลยีนี้ ถ้าคุณดูอุปกรณ์ที่ใช้ไวร์เลสแอพพลิเคชั่นที่เกิดขึ้น คุณจะรู้ว่าไม่ใช่มาแล้วไป เพราะมันจะบิลท์เข้าไปในโน้ตบุ๊ค ในปาล์มเลย การตัดออปชั่นไวร์เลสแลนการ์ดออกไปเพื่อให้อุปกรณ์ราคาถูกลง วันนี้เขากำลังพูดถึงเม็ดเงินอาจจะประมาณ 2,000 บาท อีก 6 เดือนข้างหน้าจะเหลือประมาณ 1,000 บาท อีก 6 เดือนข้างหน้าคุณถอดไม่ได้แล้ว มันมากับเครื่อง ผมเชื่อว่าในอีก 1 ปี ไม่รู้ว่าตัวนี้จะถอดอย่างไร มันบังคับเลย อุปกรณ์พวกนี้ไม่ใช่ของถูก มีเงินซื้อใช้ยังไม่พอ ต้องมีความรู้ที่จะใช้มันเป็นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่รองกรรมการผู้จัดการซีเอส ล็อกซ์อินโฟ จะบอกว่าลูกค้าเป้าหมายของเขาเป็นกลุ่มนักธุรกิจและคนมีสตางค์

แน่นอนอยู่แล้วที่กลุ่มนักธุรกิจต้องเกิดก่อน ส่วนกลุ่มผู้ใช้ที่จะเพิ่มเข้าก็จะมีกลุ่มไฮโซ กลุ่มจ๊าบๆ ที่มีตังค์ และตามเทคโนโลยี ที่เราวางคอนเซ็ปท์ไว้ก็จะมีพวกแฟชั่นโชว์ที่จะตามมา พูดง่ายๆ ก็คือ เราต้องการนำเทคโนโลยีที่มีเข้ามาเติมสีสันให้กับคนในเมืองมากขึ้น

ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปนั้น อนันต์ไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในเวลาอันใกล้นี้

ผมไม่เคยเห็นอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีในเมืองไทย ผมไม่คาดหวังว่ามันจะหวือหวา มันค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า คงไม่มีคนเดินถือโน้ตบุ๊คกันเยอะแยะ แต่พวกนักธุรกิจหรือคนทำงานในบริษัทนี่แหละจะเป็นคนใช้

สำหรับวิธีเชื่อมสู่โลกออนไลน์ผ่านฮอทสปอตนั้น เพียงแค่นำอุปกรณ์พกพาที่มีไวร์เลส แอคเซส การ์ด มาตรฐานไว-ไฟ (802.11b) เข้าไปในพื้นที่ที่เปิดให้บริการ โปรแกรมก็จะตรวจจับสัญญาณเหมือนหาคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม เมื่อพบว่ามีเครือข่ายอยู่ ก็จะแสดงรายชื่อเครือข่ายที่เปิดให้บริการ ณ จุดนั้น ลูกค้าก็ต้องเลือกล่ะว่าจะใช้เครือข่ายจากค่ายไหน เมื่อเลือกได้แล้ว ก็ใส่ยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ด จากนั้นก็ท่องเน็ตได้ตามสะดวก

ส่วนรูปแบบการชำระเงิน มีด้วยกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ พรีเพด สามารถหาซื้อการ์ดได้จากจุดให้บริการ หรืออาจใช้ไอดีหรือพาสเวิร์ดเดียวกับบริการอินเทอร์เน็ตปกติที่เราใช้อยู่ก็ได้ และโพสต์เพด เป็นการชำระค่าใช้บริการผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ หรือส่งเอสเอ็มเอสมาขอใช้บริการ โดยค่าบริการจะถูกจัดเก็บรวมกับใบเสร็จรับเงินของผู้ให้บริการมือถือ

อัตราค่าบริการของผู้ให้บริการแต่ละรายก็แตกต่างกันออกไป แต่บอกได้เลยว่าสูงกว่าการต่อเน็ตปกติไม่น้อยทีเดียว…ว่าแล้วคงต้องขอตัวกลับไปต่อเน็ตแบบเต่าคลานที่บ้านก่อนดีกว่า
charinpomme
New Member
New Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 03 Jan 2006
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ :
วันที่โพสท์ : 04 Jan 2006 22:14  
ตอบโดยอ้างถึง  

เอาง่าย ๆ เลยนะครับ
Wireless = ไม่มีสายครับ
LAN = Local Area Network = เน็ตเวิร์คที่ติดต่อกันในวงแคบ ๆ ครับ

Wireless LAN = เน็ตเวิร์คที่ติดต่อกันในวงแคบ ๆ ที่ไม่ต้องใช้สาย ครับ
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Windows Phone Community - วินโดว์ คอมมูนิตี้
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: