Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 นับถอยหลัง "แจส โมบาย"..ถึงวันนี้ยังไร้คำตอบ!
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 12109
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : นับถอยหลัง "แจส โมบาย"..ถึงวันนี้ยังไร้คำตอบ!
วันที่โพสท์ : 18 Mar 2016 13:56  
ตอบโดยอ้างถึง  

ลุ้นระทึก! "แจส โมบาย" ส่อทิ้งใบอนุญาต หลังเลยกำหนดเส้นตายที่ต้องให้คำตอบ กสทช. ก่อนเส้นตายจ่ายค่าธรรมเนียมประมูล 4 จี 21 มีนาคม นี้

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมประมูล 4จี ของบริษัท"แจสโมบาย บรอดแบนด์" ผู้ชนะประมูล 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 เมกกะเฮิร์ตซ์ (MHz)ว่า ล่าสุดวันที่ 18 มีนาคม ซึ่งบริษัทจะต้องแจ้งความคืบหน้ามายังสำนักงาน กสทช.ต่อกรณีดังกล่าวยังคงปรากฏว่า มีสัญญาณใดๆ จากบริษัท นอกจากกระแสข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงินที่ยืนยันว่าแจส โมบายจะเข้ามาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการประมูลได้ทันตามกำหนดเท่านั้น

ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากบริษัท แจส โมบายแต่อย่างใด ซึ่ง กสทช.ต้องรอต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดการชำระเงินงวดแรกพร้อมหนังสือค้ำประกันการเงินจากสถาบันการเงินรวม 75,654 ล้านบาท ในวันที่ 21 มี.ค.2559

ทั้งนี้ หากแจส ไม่นำเงินมาชำระค่าประมูลในวันที่ 21 มี.ค.นี้ ถือเป็นอันสิ้นสุดของการชำระเงิน ซึ่งขั้นตอนต่อไปสำนักงาน กสทช.จะนำเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาการยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน 644 ล้านบาท การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการจัดการประมูล 4 จี ราว 160 ล้านบาท และอาจมีการฟ้องร้องเรียกค่า เสียหายอื่นๆ หรือการตรวจสอบการถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ ที่รับใบอนุญาตจาก กสทช.ด้วย เพื่อมิให้เกิดกรณีตัวอย่างในอนาคต ที่ประมูลชนะไปแล้วไม่มาชำระเงินอีก

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม วิเคราะห์ว่า ความคาดหวังที่ว่าแจส อาจนำแบงก์การันตีจากสถาบันการเงินต่างประเทศเข้ามานั้น หากเป็นจริงจะต้องมีการขออนุญาตจากแบงก์ชาติ เพราะตามประกาศเงื่อนไขการประมูลนั้นกำหนดให้ผู้ชนะประมูลต้องวางหลักประกันทางการเงิน ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศ หรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศในไทยเท่านั้น และหากจะปล่อยกู้เกินกว่า 25% ของเงินกองทุนจะต้องขออนุมัติจาก ธปท.ด้วย ซึ่งที่ผ่ามนมายังไม่มีสถาบันการเงินในประเทศหรือ สาขาสถาบันการเงินต่างประเทศใดร้องขอในเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ หากท้ายที่สุดแล้ว "แจส"ต้องถอดใจทิ้งใบอนุญาตไปแรงกดดันจะไปอยู่ที่ กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมไทย เพราะไม่เพียงจะสะท้อนให้เห็นบทอวสานโลกสวยมือถือ 4 จีที่ไม่ได้เป็น Blue Ocean ของใครต่อใครอีกต่อไป ประเทศยังต้องสูญเสียรายได้ค่าธรรมเนียมประมูลไปกว่า 76,000 ล้านบาท ขณะที่คนไทยเองต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้ใช้บริการมือถือระบบ 4 จีบนคลื่น 900 MHz ไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งยังทำให้ตลาดโทรคมนาคมมือถือสูญเสียโอกาสที่ควรจะมีผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามาเพิ่มการแข่งขันอีกด้วย

ในส่วนของมาตรการลงโทษผู้ทิ้งใบอนุญาต ดังที่ เลขาธิการ กสทช.ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า กสทช.จะริบหลักประกันการประมูล 644 ล้านบาท และฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการจัดการประมูล รวมทั้ง อาจตรวจสอบเชิงลึกไปถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการที่รับใบอนุญาตจาก กสทช.ทั้งกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมนั้น หลายฝ่ายระบุว่าเป็นบทลงโทษที่เบามากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่ประเทศได้รับ

ทั้งนี้ สิ่งที่ประชาชนคนไทยอยากเห็น นั่นคือบทลงโทษจากการที่ต้องนำเอาคลื่นคามถี่นี้กลับไปประมูลใหม่ ที่มีแนวโน้มว่าสนนราคาคลื่นที่ได้จะต่ำกว่าเดิมเป็นเท่าตัวแน่ เพราะหากบริษัทสื่อสารจะสู้ราคาประมูลที่สูงลิ่วขนาดนั้นคงจะตะบี้ตะบันสู้ราคากันไป ตั้งแต่วันประมูลครั้งก่อนแล้ว คงไม่ถอดใจยกธงยอมแพ้ไป ตั้งแต่วันวานแน่ ดังนั้นโอกาสที่การประมูลใหม่ จะมีรายได้เข้ารัฐต่ำกว่าเดิมนั้นยังไงมันต้องเกิดขึ้นแน่ แต่แทนที่กสทช.จะกำหนดเงื่อนไข หากผลของการที่ต้องนำคลื่นไปประมูลใหม่ ทำรายได้เข้ารัฐได้ต่ำกว่าผลประมูลครั้งก่อน ส่วนต่างความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น รัฐหรือกสทช.ต้องไปไล่เบี้ยคืนเอากับบริษัทสื่อสารที่ทิ้งใบอนุญาตประมูล ดั่งระเบียบพัสดุทั่วไปที่เขาทำกัน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม( กทค.) กลับไปออกมติ "มัดตราสัง"ผูกคอตัวเองเอาไว้ โดยมีมติกำหนดเงื่อนไขราคาประมูลตั้งต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าราคาสุดท้ายที่ผู้ชนะประมูลครั้งก่อนได้ไปคือ 75,654 ล้านบาท แต่หากเปิดประมูลแล้วไม่มีผู้สนใจ กสทช.จะไม่นำคลื่นดังกล่าวมาเปิดประมูลใหม่ทันที แต่จะเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรืออาจนำไปประมูลพร้อมคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ สัมปทานสจะสิ้นสุดลงในปี 2561 ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ไม่ได้ลงโทษอะไรแก่ผู้ทิ้งใบอนุญาตเอาเลย

"บทลงโทษผู้ทิ้งงานที่ กสทช.กำหนดไว้นั้น เทียบไม่ได้เลยกับความเสียหายที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยได้รับและหากมีผู้บริหารในเครือข่ายบริษัทสื่อสารไปเล่นแร่แปรธาตุช้อนซื้อหุ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และจากราคาหุ้น "แจส" ที่ขึ้นลงวูบวาบทั้งก่อนการประมูล ที่นัยว่าได้ฉุดราคาหุ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมร่วงระนาวทั้งกระดาษ ทำ"มาร์เก็ตแค็ป" ในตลาดหุ้นไทยหายไปกว่า 200,000 ล้านบาทในช่วงก่อนหน้านั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับบทปรับอันแข็งกร้าวราว "เสือกระดาษ"ที่กสทช.ป่าวประกาศอยู่นี้มันเทียบกันได้หรือ"

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/691239
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: