Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 "ทีโอที" จ่อถังแตก
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 12994
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : "ทีโอที" จ่อถังแตก
วันที่โพสท์ : 19 Jul 2016 12:54  
ตอบโดยอ้างถึง  

ทีโอทีงานเข้าจ่อถังแตกหลังกระแสเงินสดหมดเกลี้ยงหน้าจ่อล้มละลาย พนักงานฮึ่มกดดันฝ่ายบริหารเร่งเคลียร์หน้าเสื่ออนาคตองค์กร เหตุแผนฟื้นฟูองค์กรเหลวไม่เป็นท่า

ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารทีโอที ได้รายงานให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มี พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานบอร์ด ได้รับทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินการงานในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.59) โดยมีความกังวล ถึงกระแสเงินสดที่ลดลงอย่างมาก ณ สิ้นเดือน พ.ค.กระแสเงินสดอยู่ที่ 1,241 ล้าบาท และเมื่อรวมเงินสดสำรอง 12,570 ล้านบาท เงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้ 24,210 ล้านบาท จะทำให้มีเงินสดคงเหลือ 38,021 ล้านบาท แต่หากไม่รวมเงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้แล้วจะทำให้ปี 59 อาจมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้กระแสเงินสดลง เนื่องจากทีโอที มีภาระค่าใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 3.75% วงเงิน 763 ล้านบาท โครงการลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ (เออร์รี่รีไทร์) 715 ล้านบาท มีภาระลงทุนและหนี้สิน 2,764 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากการถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จากการจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้อีก 2,938 ล้านบาท

ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ขาดทุนสุทธิ 6,572 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 212 ล้านบาท เมื่อช่วงเดียวกันของปี 58 สาเหตุมาจากรายได้จากการให้บริการ 10,336 ล้านบาท ลดลง 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ทั้งปีคาดว่าจะมีรายได้ 51,507 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 11,252 ล้านบาท

ทั้งนี้หากแยกรายได้ตามกลุ่มธุรกิจ โดยกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมมีรายได้ 923 ล้านบาท กลุ่มอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ มีกำไร 119 ล้านบาท กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ขาดทุน 3,638 ล้านบาท กลุ่มบริการด้านไอที, ไอดีซี และคลาวด์ ขาดทุน 129 ล้านบาท ขณะที่รายได้ที่คาดหวังว่าจะได้จากการให้เอไอเอสเช่าเสาโทรคมนาคม 3,600 ล้านบาท รายได้จากการเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคม 2จี วงเงิน 2,000 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สหภาพรัฐวิสาหกิจทีโอทีได้ออกโรงยื่นข้อเรียกร้องเพื่อกดดันฝ่ายบริหารอย่างหนัก หลังจากเห็นว่าโครงการลงทุนต่างๆ ของทีโอทีไม่มีความคืบหน้า และหนทางฟื้นฟูองค์กรยังมืดแปดด้านมีการทำเอกสารร่อนภายในองค์กรจี้ให้บอร์ดและฝ่ายบริหารลงมาเคลียร์หน้าเสื่อกับอนาคตองค์กรทีโอที

โดย 1 ในแผนฟื้นฟูที่สหภาพเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารเร่งให้ความกระจ่างก็คือ การลงนามในสัญญาร่วมทุนกับพันธมิตรธุรกิจคือบริษัท เอไอเอส ที่คาดว่าจะทำให้ทีโอทีมีรายได้จากการนำเอาทรัพย์สิน เสา และอุปกรณ์โทรคมนาคม 2 จี และ 3 จีไปใช้ ที่จะทำให้มีรายได้รวมกว่าปีละ 9,000-10,000 ล้านบาท เทียบเท่ากับเกือบครึ่งของค่าสัมปทานที่ทีโอทีเคยได้รับ หลังจากโครงการดังกล่าวยืดเยื้อมากว่า 2 ปีแล้ว และเห็นว่าที่ผ่านมาทีโอทีมีการตั้งคณะกรรมการกั่นกรอง ว่าจ้างที่ปรึกษาระดับโลกมาดำเนินการศึกษาเสียค่าใช้จ่ายเป็นสิบล้าน แต่สุดท้ายก็ถูกดึง

โดยล่าสุดบอร์ดทีโอที มีมติให้ชะลอการลงนามในสัญญาทดลองเป็นพันธมิตรธุรกิจกับบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค (AWN) ในเครือเอไอเอสในการให้บริการ 3จี 2100 ออกไปก่อน แม้บอร์ดจะมีมติให้ร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ยังผลให้สหภาพทีโอที และพนักงานต่างแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของบอร์ดที่ดึงเกมในเรื่องนี้ เพราะการแสวงหาพันธมิตรธุรกิจเป็นเรื่องที่ทีโอทีดำเนินการยืดเยื้อมากว่า 2 ปีแล้ว นับตั้งแต่กลางปี 2556 ส่งผลให้ทีโอทีสูญเสียโอกาสในการแข่งขันและสูญเสียผลประโยชน์ไปปีละนับหมื่นล้านบาท "ก่อนหน้านี้ฝ่ายบริหารทีโอทีได้เคยสอบถามไปยังกระทรวงการคลัง และสำนักงาน กสทช.แล้วหากทีโอทีจะลงนามร่วมกับพันธมิตรธุรกิจเช่นเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำกับกลุ่มทรูมูฟจะทำได้หรือไม่ ซึ่ง กสทช.ก็มีหนังสือตอบกลับว่าทำได้ แต่กระนั้นบอร์ดทีโอทีก็ยังไม่กล้าตัดสินใจและยังคงมีหนังสือสอบถามความเห็นกรณีดังกล่าวไปทั่วสารทิศอยู่อีก"

แหล่งข่าวกล่าวว่าเบื้องหลังที่ทำให้เส้นทางการแสวงหาพันธมิตรธุรกิจทีโอทีต้องยืดเยื้อออกไปนั้น ก็เพราะถูกบริษัทสื่อสารยักษ์รายหนึ่งที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับรัฐบาลชุดนี้ ได้เรียกบอร์ดทีโอทีไปเจรจาเพื่อขอให้ล้มเลิกข้อตกลงโดยหยิบยกเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติเชือดอดีตผู้บริหารทีโอทีในอดีตกรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานกับบริษัทเอไอเอสมาเป็นตัวอย่าง ทำให้บอร์ดทีโอทีหวาดหวั่นอาจจะถูกร้องเรียนขึ้นมาอีกจนต้องหวนกลับไปล้มมติบอร์ดตนเอง และให้ฝ่ายบริหารทำหนังสือสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้ง
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: