Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 กังขาบอร์ด กทค.-กสทช.จ่ออุ้มเอกชน
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 12012
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : กังขาบอร์ด กทค.-กสทช.จ่ออุ้มเอกชน
วันที่โพสท์ : 03 Oct 2016 17:11  
ตอบโดยอ้างถึง  

วงการสื่อสารโทรคมนาคมมึนบอร์ด กทค.-กสทช.ชิ่งหนีเผือกร้อนเงินนำส่งรัฐเป็นรายได้แผ่นดินจากเงินเยียวยาการใช้คลื่น 1800 MHz โยนให้คลัง-สตง.ร่วมรับหน้าเสื่อทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ เชื่อมีหวังถูก 2 หน่วยงานตีกลับหน้าแหก เหตุไม่เคยรับรู้กระบวนการตรวจสอบค่าใช่จ่าย อัด กสทช.ตั้งกรรมการกลั่นกรองค่าใช้จ่ายทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลัง ถึงกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ใน กสทช. ไม่สามารถปิดบัญชีเงินรายได้นำส่งแผ่นดินจากการให้บริการมือถือ 2จี คลื่น 1800 เมกกะเฮิร์ตส์ (MHz) ในช่วงมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทานตามประกาศ กสทช.ปี 2556 และมีมติให้ กสทช.ทำเรื่องถึงกระทรวงการคลังและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อขอให้พิจารณาแนวทางเลือกในการประเมินเงินนำส่งแผ่นดินดังกล่าวแทนนั้นว่า เรื่องดังกล่าวไม่น่าจะถูกต้อง เพราะทั้งคลังและ สตง.เองไม่เคยรับรู้กระบวนการตรวจสอบและประเมินรายได้ของ กสทช.ดังกล่าวมาก่อน

แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่ กทค. และ กสทช.อ้างว่ามีปัญหาในเรื่องของตัวเลขรายได้ที่คณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้ในช่วงมาตรการเยียวยาที่ กทค.ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 56 กับตัวเลขที่สำนักงาน กสทช.คำนวณแตกต่างกันจนยากจะหาข้อสรุปนั้น หากพิจารณาตัวเลขรายได้ที่คณะทำงานซึ่ง กทค.แต่งตั้งขึ้นที่สรุปตัวเลขรายได้นำส่งรัฐของ 2 ค่ายมือถือคือ บริษัท ทรูมูฟ และดีพีซี จะต้องนำส่งรัฐตั้งแต่ 16 ก.ย.56 ? 3 ธ.ค.58 โดยมียอดรวม 14,868.83 ล้านบาท แยกเป็นของทรูมูฟ 13,989.24 ล้านบาท และดีพีซี 879.59 ล้านบาทนั้น เมื่อเทียบกับตัวเลขที่สำนักงาน กสทช.คำนวณได้ ซึ่งมียอดแค่ 3,967.81 ล้านบาทนั้น ไม่น่าเชื่อว่าบอร์ด กทค.กลับไม่กล้าตัดสินใจเคาะแนวทางเลือกเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ เพราะตัวเลขรายได้ที่คณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้เข้ารัฐที่ตั้งขึ้น และรวบรวมรายได้ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ย่อมจะสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด ขณะที่ตัวเลขรายได้ที่คณะทำงาน กสทช.ตั้งขึ้นคำนวณล่าสุดนั้นไม่มีที่มาที่ไป

?ก็ไม่รู้บอร์ด กทค.และ กสทช.คิดอะไรอยู่ถึงได้โยนเรื่องนี้ไปให้ สตง.และคลังมาร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะการคำนวณรายได้นำส่งคลัง ตลอดจนข้อมูลต่างๆ นั้น ทั้ง กทค.และ กสทช.น่าจะเป็นคนที่รู้ตื้นลึกหนาบางมากที่สุด จึงไม่เข้าใจว่าบอร์ด กทค.จะโยนเรื่องไปให้หน่วยงานอื่นมาร่วมรับผิดชอบด้วยทำไมอีก และหากพิจารณาตัวเลขที่สำนักงาน กสทช.เสนอมาล่าสุด ที่คำนวณเงินนำส่งรัฐจากการให้บริการมือถือของ 2 ค่าย ที่กินเวลากว่า 2 ปี แต่กลับมียอดรายได้นำส่งรัฐแค่ 3,900 ล้านบาท เทียบกับที่คณะทำงานที่นำเสนอ 14,868 ล้านบาทนั้นแค่นี่ยังแยกแยะไม่ออกอีกหรือว่าส่วนไหนที่ยังประโยชน์ต่อรัฐมากกว่า?

แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากดูวิธีการทำงานของคณะทำงาน กสทช.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อกลั่นกรองและทบทวนรายได้นำส่งแผ่นดินล่าสุดนั้นจะเห็นว่า คณะทำงาน กสทช.สามารถคำนวณเงินรายได้นำส่งรัฐในส่วนของการให้บริการมือถือของ ดีพีซี ที่มีฐานลูกค้าไม่ถึง 1 ล้านคนได้ออกมาใกล้เคียงกับคณะทำงานตรวจสอบรายได้ที่ กทค.ตั้งขึ้นคือ 879 ล้านบาท แต่ในส่วนของรายได้ในส่วนที่ทรูมูฟจะต้องจ่ายเข้ารัฐที่มีฐานลูกค้าอยู่ถึง 17 ล้านเลขหมายนั้นกลับคำนวณออกมาได้เพียง 3,900 ล้านบาทเท่านั้น ใกล้เคียงกับเงินนำส่งรัฐของดีพีซี ทั้งที่มีฐานลูกค้าต่างกันลิบลับ

?ตัวเลขที่แตกต่างกันเป็น 10,000 ล้านบาทนั้นหากบอร์ด กทค.และ กสทช.ยอมรับไปยึดถือเอาฐานการคำนวณของสำนักงาน กสทช.ที่ไม่รู้ที่มาที่ไปก็เชื่อแน่ว่าคงจะโดน สตง.และ ป.ป.ช.สอบกราวรูดตามมาแน่เพราะจะเป็นไปได้อย่างไรที่บอร์ด กทค.และ กสทช.จะไปพิจารณายอมรับตัวเลขที่มีการคำนวณในภายหลังโดยไม่มีที่มาที่ไป ผลประโยชน์ของรัฐนับหมื่นล้านที่หายไปนั้นจะต้องมีผู้รับผิดชอบ ก็ไหนว่า กสทช.ยึดถือผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลักแต่กลับจะไปโอบอุ้มเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอย่างเห็นได้ชัด?
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: