Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 ZTE ขึ้นแท่นผู้ขอจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2747
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : ZTE ขึ้นแท่นผู้ขอจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก
วันที่โพสท์ : 16 Mar 2017 17:00  
ตอบโดยอ้างถึง  

ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ) ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในรายชื่อผู้ขอจดสิทธิบัตรประจำปีล่าสุดขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ซึ่งสะท้อนถึงความทุ่มเทของบริษัทที่มีให้กับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้งเทคโนโลยี 5G เครือข่ายเสมือน ระบบคลาวด์ และ Internet of Things

ZTE ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ทั้งสิ้น 4,123 รายการในปี 2559 ซึ่งมากกว่าบริษัทอื่นๆ โดย ZTE ได้ไต่อันดับขึ้นมาอยู่ที่หนึ่ง หลังจากครองอันดับ 3 ในปีก่อนหน้านี้ และติดสามอันดับแรกในรายชื่อของ WIPO มาตั้งแต่ปี 2553

Huawei Technologies ซึ่งมียอดขอจดสิทธิบัตร 3,692 รายการในปี 2559 นั้น อยู่ในอันดับ 2 ในรายชื่อของ WIPO ตามมาด้วย Qualcomm Inc. ที่ 2,466 รายการ ขณะที่ Mitsubishi Electric มียอดขอจดสิทธิบัตร 2,053 รายการ และ LG Electronics มี 1,888 รายการ

"การที่ ZTE ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในรายชื่อผู้ขอจดสิทธิบัตรประจำปีล่าสุดของ WIPO นั้น สะท้อนให้เห็นแรงขับเคลื่อนของเราในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมไอซีทีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยียุคใหม่" เสิ่น หนาน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของ ZTE กล่าว "ในฐานะที่เป็นผู้นำโลกด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ZTE จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา"

ZTE จัดสรรเงินรายได้ปีละ 10% ให้กับการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา โดยบริษัทมีศูนย์วิจัยและพัฒนา 20 แห่งในเอเชีย อเมริกาเหนือ และยุโรป และมีนักวิจัยกว่า 30,000 คนที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้ง 5G, IoT, NFV, SDN, คลาวด์คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า และสมาร์ทซิตี้

ด้วยยอดขอจดสิทธิบัตรด้าน 5G มากกว่า 1,500 รายการ ZTE จึงเป็นเวนเดอร์รายแรกของโลกที่ได้พิสูจน์เทคโนโลยีหลักๆ ในโครงข่าย 5G Millimetre Wave และความถี่ sub-6GHz ในปี 2559 นอกจากนี้ ZTE ยังประสบความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยี 5G แบบ single-point รวมถึงการทดสอบต้นแบบ และได้เข้าสู่ช่วงการพิสูจน์และ R&D แล้ว

ฟรานซิส เกอร์รี ผู้อำนวยการองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก กล่าวว่า "การยื่นขอจดสิทธิบัตรของบริษัทจีนนั้น เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของการจดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าทั่วโลก ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้มีความเป็นสากล ในขณะที่รัฐบาลจีนมุ่งเน้นการคิดค้นนวัตกรรมโดยเปลี่ยนจาก 'Made in China' (ผลิตในจีน) ไปเป็น 'Created in China' (สร้างสรรค์ในจีน)"

โซลูชั่น Pre5G ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ZTE นั้น ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่าย สามารถเร่งกระบวนการใช้เทคโนโลยี 5G บนโครงสร้างพื้นฐาน 4G LTE ที่มีอยู่เดิม โดยปัจจุบัน ผู้ให้บริการรายใหญ่ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปติดตั้งใช้งานในกว่า 40 เครือข่ายใน 30 ประเทศ ซึ่งรวมถึง SoftBank, China Mobile และ Telefonica

เกี่ยวกับ ZTE

ZTE เป็นผู้ให้บริการด้านระบบโทรคมนาคมขั้นสูง รวมถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่ และโซลูชั่นเทคโนโลยีองค์กร เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ผู้ให้บริการเครือข่าย ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ กลยุทธ์ M-ICT ของ ZTE มีเป้าหมายเพื่อนำเสนอนวัตกรรมแบบครบวงจรที่ทำงานแบบบูรณาการให้กับลูกค้า เพื่อมอบความเป็นเลิศและคุณประโยชน์ต่างๆ ในยุคที่เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว โดย ZTE ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซินเจิ้น (รหัสหุ้นในตลาดฮ่องกง: 0763.HK / รหัสหุ้นในตลาดเซินเจิ้น: 000063.SZ ) ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับกลุ่มผู้ให้บริการกว่า 500 รายในกว่า 160 ประเทศ ในแต่ละปี ZTE จัดสรรเงินรายได้ 10% ให้กับการวิจัยและพัฒนา และมีบทบาทผู้นำในองค์กรผู้กำหนดมาตรฐานในระดับโลก ทั้งนี้ ZTE มุ่งมั่นเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และยังเป็นสมาชิกของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถรับชมได้ที่ www.zte.com.cn

สื่อมวลชนติดต่อ:
Margrete Ma
ZTE Corporation
โทร. +86 755 26775207
อีเมล: ma.gaili@zte.com.cn

Daniel Beattie
AxiCom
โทร. +44 (0)20 8392 8071
อีเมล: daniel.beattie@axicom.com
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: