Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 เซลโดรน อิงค์ ระดมทุน 60 ล้านดอลลาร์ใน Series B
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2211
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : เซลโดรน อิงค์ ระดมทุน 60 ล้านดอลลาร์ใน Series B
วันที่โพสท์ : 16 May 2018 09:44  
ตอบโดยอ้างถึง  

เซลโดรน อิงค์ (Saildrone, Inc.) ผู้ให้บริการข้อมูลความละเอียดสูงเกี่ยวกับมหาสมุทร ซึ่งเก็บรวบรวมผ่านทางยานผิวน้ำไร้คนขับ (Unmanned Surface Vehicle) ประกาศในวันนี้ว่า บริษัทได้ปิดการระดมทุน Series B มูลค่า 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะขยายกองเรือโดรนเดินสมุทรทั่วโลก เพื่อช่วยตรวจสอบสภาวะของโลกในเวลาจริง สำหรับการระดมทุนครั้งนี้นำโดย Horizons Ventures ร่วมด้วยผู้ลงทุนเดิมซึ่งได้แก่ Capricorn's Technology Impact Fund, Lux Capital, Social Capital และ The Schmidt Family Foundation ส่งผลให้มูลค่าการระดมทุนทั้งหมดของบริษัทนับตั้งแต่เปิดดำเนินธุรกิจในปี 2016 จนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 90 ล้านดอลลาร์

เซลโดรนมุ่งหวังที่จะมองเห็น "โลกในเชิงปริมาณ" ผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานยุคหน้าของมหาสมุทร เพื่อให้ข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำความเข้าใจสภาพอากาศ การจัดการประชากรปลา และการสร้างวิทยาศาสตร์ทางทะเล ณ บริเวณแหล่งกำเนิดในขนาดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนและคุ้มค่าที่สุดในอุตสาหกรรม โดยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เซลโดรนประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐ เช่น NOAA และ NASA เพื่อสังเกตการณ์มหาสมุทรด้วยคุณภาพระดับสูง โดยเมื่อไม่นานมานี้ ทางบริษัทเพิ่งประกาศความร่วมมือเป็นเวลาหลายปีกับ CSIRO ของออสเตรเลีย และการเปิดดำเนินงานในมหาสมุทรใต้จากเมืองโฮบาร์ต รัฐแทสเมเนีย ซึ่งความเคลื่อนไหวล่าสุดดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการขยายกิจการของบริษัท นอกจากนี้ เซลโดรนยังได้เปิดโรงงานผลิตที่ก้าวล้ำขนาด 200,000 ตารางฟุตในอะลาเมดา รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งการขยายโรงงานในครั้งนี้จะช่วยให้เซลโดรนสามารถเร่งการผลิต และประจำการเรือไร้คนขับหรือเรือโดรนจำนวน 1,000 ลำให้ครอบคลุมมหาสมุทรทั่วโลกที่ระดับความละเอียด 6x6 องศา

"นี่เป็นหลักชัยสำคัญสำหรับเซลโดรน เนื่องจากการสร้างและวางโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกระบบใหม่นี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ของเราในการมองเห็น 'โลกในเชิงปริมาณ'" ริชาร์ด เจนกินส์ ซีอีโอกล่าว "กองเรือโดรนที่เรากำลังสร้างขึ้นนี้จะให้ข้อมูลจากแหล่งกำเนิดด้วยความละเอียดสูงอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้าใจของเราเกี่ยวกับโลกตามลำดับขนาด อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชากรส่วนใหญ่ของโลก"

"บิ๊กดาต้าสามารถช่วยให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาวะของโลกหลายชั่วอายุคน" บาร์ท สวอนสัน ที่ปรึกษาของ Horizons Ventures กล่าว "เซลโดรนเป็นผู้นำการวัดการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นในเชิงปริมาณ และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ช่วยเซลโดรนเปลี่ยนแปลงแนวคิดของโลกเชิงปริมาณให้กลายเป็นความจริง ด้วยการบรรลุเป้าหมายเรื่องความครอบคลุมมหาสมุทรทั่วโลก"

ไบลัล ซูเบริ หุ้นส่วนจาก Lux Capital กล่าวว่า "เซลโดรนมีจุดมุ่งหมายที่จะไขความลับของมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล เพื่อประโยชน์ทั้งทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์จะสามารถตรวจสอบสภาวะของมหาสมุทรที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาจริงแบบนาทีต่อนาที ขณะที่รัฐบาลก็สามารถติดตามผลกระทบของการขุดเจาะนอกชายฝั่ง บริษัทประมงสามารถรู้ได้ว่าพวกเขาจับปลาในบริเวณหนึ่งมากเกินไปแล้วและถึงเวลาที่จะเดินเรือไปยังจุดหมายต่อไป ส่วนธุรกิจต่างๆ ก็สามารถสร้างแบบจำลองสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยผลจากการรวบรวมและตีความข้อมูลใหม่ทั้งหมดนี้จะลึกและทรงพลังเหมือนกับมหาสมุทร"

"เราได้ลงทุนในกลุ่มดาวเทียมที่ทำหน้าที่สำรวจโลก และรู้สึกตื่นเต้นที่จะเริ่มการผจญภัยครั้งใหม่นี้ เพื่อสำรวจมหาสมุทรต่างๆ ของโลก เซลโดรนจะนำสิ่งที่ SpaceX and Planet มอบให้กับอุตสาหกรรมอวกาศ มาเป็นข้อมูลมหาสมุทรและสภาพอากาศที่สามารถเข้าถึงได้ในราคาไม่แพงและเชื่อถือได้" เอียน ยาดิกาโรกลู หุ้นส่วนผู้จัดการของ Capricorn's Technology Impact Fund กล่าว

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเซลโดรนได้ที่ www.saildrone.com


รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/690494/Saildrone_Inc_ocean_data.jpg
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: