Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 Blue Origin และ mu Space ปล่อยจรวด New Shepard สร้างประวัติศาสตร์
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 2012
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : Blue Origin และ mu Space ปล่อยจรวด New Shepard สร้างประวัติศาสตร์
วันที่โพสท์ : 25 Jul 2018 11:07  
ตอบโดยอ้างถึง  

บริษัท Blue Origin ซึ่งเป็นบริษัทสร้างอวกาศยานของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งบริษัท Amazon ได้ปล่อยจรวด New Shepard ขึ้นสู่อวกาศแล้ว และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำอุปกรณ์ที่บรรจุสิ่งของต่างๆ (Payload) น้ำหนักรวม 6 กิโลกรัมจากเอเชียขึ้นไปในอวกาศ โดยมีบริษัทมิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (mu Space and Advance Technology) ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศของไทย เป็นผู้ส่ง Payload ซึ่งบรรจุสิ่งของทดลองทางวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
มิว สเปซ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ส่งของขึ้นไปพร้อมกับ Payload เช่น อุปกรณ์ห้ามเลือด, Carbon Nanotube ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ จากภาครัฐ มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย ได้แก่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)
ในส่วนของบริษัท มิว สเปซ นั้น ได้ส่งวัสดุผ้าสำหรับใช้ในการทดลองเพื่อการพัฒนาและผลิตเป็นชุดอวกาศและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายต่างๆ และยังได้ส่งเสื้อฟุตบอลทีมชาติไทย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ระหว่างคนไทยกับมหกรรมฟุตบอลโลก และสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จในภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลและโค้ชทั้ง13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงอีกด้วย ก่อนหน้านี้ มิว สเปซ ได้เปิดเผยความคืบหน้าของการส่งสิ่งของบรรทุกทางวิทยาศาสตร์จนประสบความสำเร็จในภารกิจครั้งล่าสุดในที่สุด
“ครั้งนี้เป็นการทดสอบการใช้งานของจรวด New Shepard เป็นครั้งที่ 9 ซึ่งประสบความสำเร็จอีกครั้ง และยังเป็นการส่ง Payload พร้อมสิ่งของจากเอเชียขึ้นไปในอวกาศเป็นครั้งแรกอีกด้วย” เจมส์ เย็นบำรุง ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท มิว สเปซ กล่าว “ผมขอแสดงความยินดีกับทีมงานทุกคนของบริษัท มิว สเปซ และกับผู้ร่วมโครงการของเราทุกรายในประเทศไทยที่ได้ร่วมกันรวบรวมสิ่งของทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ สำหรับการปล่อยจรวดขึ้นไปในอวกาศสู่สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (microgravity) ในครั้งนี้ และนี่เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำเร็จสำหรับความฝันในงานด้านอวกาศของคนไทย” เจมส์เสริม
Payload นี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศไปพร้อมกับจรวด New Shepard ของบริษัท Blue Origin ซึ่งจรวด New Shepard เป็นจรวดที่สามารถปล่อยขึ้นสู่อวกาศและกลับมาลงจอดบนพื้นโลกในแนวดิ่งและสามารถบรรจุ Payload น้ำหนักหลายร้อยปอนด์ต่อการปล่อยจรวด 1 ครั้ง และในอนาคตจะมีการนำนักบินอวกาศขึ้นไปได้ถึง 6 คนโดยจะทะยานไปสู่ระดับความสูงกว่า 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระดับความสูงที่เป็นที่ยอมรับโดยสากลว่าเป็นจุดที่เริ่มเข้าสู่อวกาศ
“ทางบริษัท Blue Origin ขอแสดงความยินดีกับบริษัท มิว สเปซในฐานะที่เป็นผู้ส่ง Payload ไปกับยาน New Shepard เป็นครั้งแรกในเอเชีย เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับความไว้วางใจให้เราเป็นผู้นำวิสัยทัศน์ของบริษัท มิว สเปซ ขึ้นไปสู่อวกาศ” Clay Mowry รองประธานกรรมการ บริษัท Blue Origin กล่าว
บริษัท Blue Origin นั้น ก่อตั้งโดย Jeff Bezos ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท Amazon ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการริเริ่มให้มีการส่งมนุษย์ไปอยู่ในอวกาศ โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 นั้นจรวด New Shepard ของบริษัท Blue Origin ได้กลายเป็นจรวดลำแรกที่มีการปล่อยขึ้นสู่อวกาศและกลับมายังพื้นโลกโดยการลงจอดแบบแนวดิ่ง และเพียงไม่ถึงสองเดือนต่อมาจรวดลำนี้ก็ได้ขึ้นสู่อวกาศและกลับมาลงจอดยังพื้นโลกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการนำจรวดกลับมาใช้งานใหม่นี้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ผู้คนนับล้านจะได้ใช้ชีวิตและทำงานในอวกาศในอนาคต
บริษัท มิว สเปซ ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 เพื่อพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีอวกาศและดาวเทียม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ Smart Cities โดยบริษัทฯวางเป้าหมายที่จะปล่อยดาวเทียมของตัวเองขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2020 โดยใช้ยาน New Glenn ของบริษัท Blue Origin เป็นพาหนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและต่อยอดสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: