Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 “จุฬาฯ-ใบยา” เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตอบ: 0 / เข้าชม: 3677
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
tontago
SP Member
SP Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 09 Sep 2015
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : “จุฬาฯ-ใบยา” เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี
วันที่โพสท์ : 20 Jan 2021 10:42  
ตอบโดยอ้างถึง  


เมื่อวันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นประธานมอบเงินบริจาคในโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย ครั้งที่ 1 จำนวน 25 ล้านบาท สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ให้แก่บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งทดสอบวัคซีนในมนุษย์ให้ทันกลางปี 2564

ความคืบหน้า ‘วัคซีนเพื่อคนไทย’ ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังเปิดตัวโครงการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 และเริ่มเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับที่ดี ล่าสุด รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณคนไทยที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ #ทีมไทยแลนด์ โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ มีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการวัคซีนเพื่อคนไทยในช่วงเดือนแรก โดยโครงการได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนที่ดีจากหลายภาคส่วน ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศจัดสรรงบประมาณในนามรัฐบาลไทยผ่านสถาบันวัคซีนแห่งชาติกว่า 150 ล้านบาท ในพิธีเปิดโครงการ เราได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนบริจาคเข้ามาแล้วรวม 76,194 ราย คิดเป็นยอดเงินบริจาคกว่า 39 ล้านบาท และมีภาคเอกชนน้อยใหญ่ติดต่อขอบริจาคร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมไทยแลนด์กันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยกันในรายละเอียดของความร่วมมือระหว่างกันที่จะได้เปิดเผยต่อไป และในวันนี้คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติมอบเงินบริจาค ครั้งที่ 1 ให้กับบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด จำนวน 25 ล้านบาท เพื่อให้นำไปใช้ดำเนินโครงการตามแผนงานที่ได้เสนอมา โดยเรายังเปิดรับบริจาคอย่างต่อเนื่องถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะครบตามเป้าหมาย 500 ล้านบาทต่อไป”

▪️ มียอดเงินบริจาคผ่านช่องทางออนไลน์ ณ วันที่ 17 ม.ค. 2564 รวมทั้งสิ้นกว่า 39 ล้านบาท
▪️ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสนับสนุนผ่านสถาบันวัคซีนแห่งชาติกว่า 150 ล้านบาท
▪️ มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ยังคงเปิดรับบริจาค จนถึง 31 ธันวาคม 2564 เพื่อให้ถึงเป้าหมายโครงการ 500 ล้านบาทต่อไป

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เร่งผลิตวัคซีนต่อเนื่องลุ้นทดสอบในมนุษย์ได้เร็วกว่ากำหนด

ทางด้าน ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด กล่าวว่า ‘ขอขอบคุณมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์และคนไทยที่ได้มีส่วนสนับสนุน ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ผ่านการบริจาคเข้ามาทุกช่องทาง ซึ่งเราตระหนักดีว่าขณะนี้คนไทยมีความหวังและกำลังรอคอยวัคซีนโควิด-19 เราจึงกำลังพยายามกระชับกระบวนการทุกขั้นตอนให้สามารถทดสอบในมนุษย์ได้ทันภายในกลางปีนี้ โดยเรายังคงมุ่งมั่นตั้งใจเดินหน้าทำเพื่อคนไทยต่อไป”

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด แบ่งการดำเนินงานต่อจากนี้ออกเป็น 5 ระยะ โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้ ระยะที่ 1 (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564) ปรับปรุงสถานที่ผลิตและเตรียมการด้าน Clinical Trial ระยะที่ 2 (มีนาคม – เมษายน 2564) ปรับปรุงสถานที่ผลิตระยะที่ 2 เตรียมการด้าน Clinical Trial ทดสอบความเป็นพิษ ทำโปรตีนให้บริสุทธิ์และเตรียมการแบ่งบรรจุ ระยะที่ 3 (พฤษภาคม 2564) ปรับปรุงสถานที่ผลิตระยะสุดท้าย ติดตั้งเครื่องจักร เตรียมการด้าน Clinical Trial ทำโปรตีนให้บริสุทธิ์และแบ่งบรรจุ (ต่อ) ระยะที่ 4 (มิถุนายน – สิงหาคม 2564) ทดสอบในมนุษย์ Clinical Trial Phase 1-2 และระยะที่ 5 (สิงหาคม - ตุลาคม 2564) ทดสอบในมนุษย์ Clinical Trial Phase 3 โดยคาดว่าทีมไทยแลนด์ที่ประกอบด้วย ‘บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด’, ‘องค์การเภสัชกรรม’ และ ‘บริษัท คินเจนไบโอเทค จำกัด’ จะสามารถผลิตวัคซีนพร้อมใช้ได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปีนี้

‘จุฬาฯ-ใบยา’ พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตเต็มที่ 60 ล้านโดสต่อปี รองรับ 30 ล้านคน หนุนไทยผลิตวัคซีนโควิด-19 ในประเทศได้เองรวม 260 ล้านโดสต่อปี

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เปิดเผยว่า “แพลตฟอร์มการผลิตวัคซีนของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด หากดำเนินการสำเร็จจะสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้ถึง 60 ล้านโดสต่อปี รองรับความต้องการใช้วัคซีนได้ถึง 30 ล้านคน ซึ่งส่งผลดีให้ประเทศไทยมีกำลังการผลิตวัคซีนภายในประเทศรวมถึง 260 ล้านโดสต่อปี เมื่อนับรวมกำลังการผลิตในส่วนของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ดังนั้น ความสำเร็จจากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เราสามารถพัฒนาและผลิตได้เองโดยคนไทยตั้งแต่ต้นน้ำ จึงเป็นความหวังของคนไทยและประเทศไทยที่จะสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับพี่น้องของเราจากการมีวัคซีนเป็นของเราเอง และยังช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อมวลมนุษยชาติ ให้เราพึ่งพาตนเองเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์อีกด้วย”

มูลนิธิฯ ชวนคนไทย ร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคถึงสิ้นปี 2564 มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ยังคงเปิดรับบริจาคอย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบที่เอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่

▪️ ช่องทางที่ 1 บริจาคโดยตรงผ่านเลขบัญชี 162-6-01946-0 มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ธนาคารกรุงไทย สาขา จามจุรีสแควร์
▪️ ช่องทางที่ 2 สแกน QR Code ผ่าน Mobile Banking ของธนาคารใดก็ได้บนเว็บไซต์ www.CUEnterprise.co.th
▪️ ช่องทางที่ 3 บริจาคผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา เพียงแสดงบัตรประชาชน

สำหรับ #ทีมไทยแลนด์ ที่ได้บริจาคเข้ามาในโครงการแล้ว สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์สมนาคุณ ได้ที่ www.CUEnterprise.co.th และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2576-5500 หรือเว็บไซต์ www.CUEnterprise.co.th / เฟซบุ๊ก CUEnterpriseOfficial และ ไลน์ @CUEnterprise

ประสานข้อมูลได้ที่ทีมประชาสัมพันธ์โครงการ โชฏิมา จันทร์คง โทร. 092 5176664, ธีร์รัฐ ศิริสุริยบวรกุล โทร. 081 1745525
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: