Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 เอซ กรีน รีไซคลิง เซ็นสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์ระหว่างทวีปกับเกลนคอร์
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 588
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : เอซ กรีน รีไซคลิง เซ็นสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์ระหว่างทวีปกับเกลนคอร์
วันที่โพสท์ : 06 Dec 2022 16:13  
ตอบโดยอ้างถึง  

ข้อตกลงระดับโลกนี้ก่อให้เกิดความร่วมมือทางกลยุทธ์ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศหมุนเวียนและยั่งยืนสำหรับวัสดุแบตเตอรี่รีไซเคิล

เอซ กรีน รีไซคลิง (ACE Green Recycling) หรือเอซ (ACE) แพลตฟอร์มซัพพลายเชนและเทคโนโลยีรีไซเคิลระดับโลก และเกลนคอร์ (Glencore plc) (LON: GLEN) บริษัททรัพยากรธรรมชาติรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก และผู้นำด้านการผลิตและรีไซเคิลโลหะสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ ประกาศในวันนี้ว่า ทั้งสองบริษัทจะบรรลุข้อตกลงระยะยาวเพื่อจัดหาตะกั่วรีไซเคิล เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายจากโลหะแบตเตอรี่ที่ได้มาจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนรีไซเคิล ความร่วมมือทางกลยุทธ์นี้จะช่วยสร้างซัพพลายเชนหมุนเวียนในระดับโลกรองรับวัสดุอันเป็นที่ต้องการสูงเหล่านี้ พร้อมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในคราวเดียวกัน

ข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลา 15 ปี เปิดโอกาสให้เกลนคอร์ซื้อผลิตภัณฑ์ของเอซได้มากถึง 100% จากนิคมรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและลิเธียมไอออนที่วางแผนไว้สี่แห่ง ซึ่งกำลังสร้างในสหรัฐอเมริกา อินเดีย และไทย นิคมเหล่านี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 และเมื่อเปิดดำเนินการแล้ว เอซคาดว่านิคมรีไซเคิลเหล่านี้จะผลิตโลหะรีไซเคิลรวมกันได้ 1.6 ล้านตัน ซึ่งประกอบด้วยตะกั่ว ลิเธียม นิกเกิล และโคบอลต์

คุนาล ซินหา (Kunal Sinha) หัวหน้าฝ่ายรีไซเคิลของเกลนคอร์ กล่าว "ความร่วมมือของเรากับเอซส่งเสริมวัตถุประสงค์ของเรา ในการสร้างแพลตฟอร์มหมุนเวียนชั้นนำระดับโลกสำหรับโลหะแบตเตอรี่ นิคมรีไซเคิลเหล่านี้ไม่เพียงมอบโซลูชันในประเทศที่ไม่เหมือนใคร แต่ยังเป็นโซลูชันระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มความหมุนเวียนในแบตเตอรี่ ทั้งแรงสูงและแรงต่ำ การเป็นหุ้นส่วนครั้งนี้จะสนับสนุนเป้าหมายของเราในการเป็นบริษัทที่ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ (ขอบเขต 1,2,3) ภายในปี 2593"

เอซตระหนักถึงบทบาทสำคัญของแบตเตอรี่ในการเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก และได้พัฒนากลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์เพื่อรีไซเคิลแบตเตอรี่โดยไม่ปล่อยมลพิษตามขอบเขต 1 และแยกวัสดุที่สำคัญออกโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เอซบุกเบิกกระบวนการรีไซเคิลแบบโลหวิทยาสารละลายที่เป็นนวัตกรรมสำหรับทั้งแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (LAB) และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (LIB) ที่มีอัตราการกู้คืนสูงกว่า 99% และ 98% ตามลำดับ บริษัทได้พัฒนาโซลูชันระยะสุดท้ายแบบวงปิดที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมสำหรับแบตเตอรี่ทั้งสองประเภท

"เรามีความยินดีที่ได้เป็นพันธมิตรกับเกลนคอร์ และร่วมกันส่งเสริมให้พลังงานไฟฟ้ามีความยั่งยืน" นิชเชย์ ชาดา (Nishchay Chadha) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเอซ กล่าว "ในการทำให้อนาคตข้างหน้าเขียวสะอาดกว่าเดิมนั้น เราจำเป็นต้องสร้างโซลูชันซัพพลายเชนแบบหมุนเวียนและปรับให้เข้ากับท้องถิ่น เพื่อให้วัสดุแบตเตอรี่ที่จำเป็นเหล่านี้พร้อมใช้ได้ตลอดไป"

เมื่อดำเนินการในเชิงการค้าแล้ว โรงงานรีไซเคิลของเอซที่เป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงนี้ น่าจะมีกำลังแปรรูปแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ได้ปีละ 250,000 ตัน และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนปีละ 47,000 ตัน

โรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเชิงพาณิชย์แห่งแรกของเอซ มีกำหนดจะเริ่มขึ้นในเดือนนี้ที่เมืองกาซิอาบาด ประเทศอินเดีย ซึ่งโรงงานจะรีไซเคิลเคมีแบตเตอรี่หลายชนิด เช่น ลิเธียม นิกเกิล แมงกานีส โคบอลต์ออกไซด์ (NCM) ลิเธียมโคบอลต์ออกไซด์ (LCO) และลิเธียมเหล็กฟอสเฟต (LFP) เพื่อสกัดวัสดุแบตเตอรี่ที่มีค่า ส่วนโรงงานแห่งที่สองในอินเดียในเมืองมุนดรา คาดว่าจะเปิดดำเนินการในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ในเวลาเดียวกับที่โรงงานเรือธงของเอซ ในเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จะเริ่มดำเนินการ โรงงานทั้งสองแห่งคาดว่าจะแปรรูปแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ได้มากถึง 100,000 ตัน และแบตเตอรี่ลิเธียมได้ 20,000 ตันต่อปีภายในปี 2568

ข้อตกลงระดับโลกระหว่างเอซกับเกลนคอร์ จะขยายและปรับปรุงการหมุนเวียนของแบตเตอรี่ทั้งในตลาดที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ เอซหวังใช้โซลูชันที่แข่งขันได้ในทางต้นทุน เป็นระบบอัตโนมัติและยั่งยืน เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่การแปรรูปและรีไซเคิลแบตเตอรี่เหลือทิ้ง

ดร. วิพิน เทียกี (Vipin Tyagi) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของเอซ กล่าวว่า "แพลตฟอร์มเทคโนโลยีรีไซเคิลแบบแยกส่วนและไม่จำกัดประเภทเคมีแบตเตอรี่ของเรา มอบความยืดหยุ่นในการปรับแต่งโซลูชันสำหรับทั้งตลาดที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยนอกเหนือจากข้อดีในด้าน ESG และความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนแล้ว โซลูชันรีไซเคิลแบตเตอรี่ของเอซยังมอบประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย"

เกี่ยวกับเกลนคอร์

linkedin.com/company/glencore
twitter.com/glencore
instagram.com/glencoreplc
facebook.com/glencore
youtube.com/glencorevideos

เกี่ยวกับเอซ กรีน รีไซคลิง

linkedin.com/company/ace-recycling-pte-ltd/mycompany/

คำชี้แจงที่สำคัญ

บริษัทที่เกลนคอร์มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นเป็นนิติบุคคลที่แยกจากกันและแตกต่างกัน ในเอกสารนี้จะใช้คำว่า "เกลนคอร์", "กลุ่มบริษัทเกลนคอร์" และ "กลุ่มบริษัท" เพื่อความสะดวกเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิงถึงเกลนคอร์และบริษัทในเครือโดยทั่วไปเท่านั้น การอ้างชื่อโดยรวมเหล่านี้ใช้เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น และไม่ได้หมายความถึงความสัมพันธ์อื่นใดระหว่างบริษัท ในทำนองเดียวกัน คำว่า "พวกเรา", "เรา" และ "ของเรา" ยังใช้เพื่ออ้างถึงสมาชิกของกลุ่มหรือผู้ที่ทำงานให้กับพวกเขา การอ้างชื่อเหล่านี้ยังใช้ในกรณีที่ไม่มีจุดประสงค์ที่เป็นประโยชน์โดยการระบุชื่อบริษัทหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ

ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าบางประการเกี่ยวกับความสามารถทางเทคโนโลยีของเอซ และความคาดหวังทางธุรกิจในอนาคต ข้อความดังกล่าวทั้งหมดอิงตามการคาดการณ์ของเอซในปัจจุบัน โดยมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทางธุรกิจและทางเทคนิคจำนวนหนึ่ง ที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างอย่างมากจากผลลัพธ์ที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอธิบายโดยนัยหรือคาดการณ์ไว้ในแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการอนุมัติตามกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในเรื่องเทคโนโลยี ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยี การปรับขนาดและการเปิดตัว การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แหล่งที่มาและความพร้อมใช้งานของการจัดหาเงินทุนของบุคคลที่สาม



รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1960811/ACE_Glencore.jpg

คำบรรยายภาพ - เอซ กรีน รีไซคลิง เซ็นสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์ระหว่างทวีปกับเกลนคอร์
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: