Community แห่งนี้จะใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 
สยามโฟน ดอท คอม : ชุมชนผู้ใช้มือถือ
 "พาราสคริปต์" จดสิทธิบัตรใหม่ ในเทคโนโลยีการตรวจสอบลายเซ็น
 
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตอบ: 0 / เข้าชม: 515
ตั้งกระทู้ใหม่ ตอบหัวข้อนี้
Translate this topic to English แสดงความเห็นเฉพาะสมาชิก ทวีตไปบนทวิตเตอร์ แชร์หน้านี้ไปบนเฟสบุคดูกระทู้ก่อนหน้า :: ดูกระทู้ถัดไป
Author
Message
PRdelivery
PRO Member
PRO Member
Year's Star



สมัครเมื่อ: 08 May 2012
จังหวัด: กรุงเทพฯ
รายละเอียดสมาชิก - View user's profile
หัวข้อ : "พาราสคริปต์" จดสิทธิบัตรใหม่ ในเทคโนโลยีการตรวจสอบลายเซ็น
วันที่โพสท์ : 09 Jan 2023 06:31  
ตอบโดยอ้างถึง  

พาราสคริปต์ (Parascript) บริษัทในรัฐโคโลราโดที่อุทิศตนให้กับการสร้างโซลูชัน AI เพื่อใช้ประมวลผลเอกสารโดยอัตโนมัติ ได้จดสิทธิบัตร (US 11521428 B1) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 โดยสิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุมวิธีการและระบบการตรวจสอบลายเซ็น (Methods and Systems for Signature Verification)

พาราสคริปต์ได้จดสิทธิบัตรสำหรับวิธีการและระบบการตรวจสอบลายเซ็นเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถตรวจสอบตัวตนของบุคคลได้ วิธีการดังกล่าวจะจับภาพลายเซ็นหรือเส้นลายเซ็นบนแผ่นดิจิทัล แล้วนำไปตรวจเทียบกับลายเซ็นอ้างอิง ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบภาพหรือเส้นที่บันทึกไว้ขณะทำการเซ็นลงบนอุปกรณ์ที่ใช้ปากกาได้ สิทธิบัตรนี้อธิบายถึงกรณีการใช้งานต่าง ๆ สำหรับการยืนยันตัวตน เช่น การยืนยันตัวตนเพื่อการเข้าถึงบริการจากระยะไกล การยืนยันตัวตนในตู้คีออสบริการตนเอง, การยืนยันตัวตนอัตโนมัติแบบมาด้วยตนเอง และการเข้ารหัสไบโอเมตริกของลายเซ็นบนบัตรประจำตัวประชาชน, บัตรเครดิต เป็นต้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างกรณีการใช้งาน

การยืนยันตัวตนสำหรับการเข้าถึงบริการจากระยะไกลผ่านสมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต หรือพีซี (เช่น การออนบอร์ดลูกค้า, การลงทะเบียน, การยืนยัน ฯลฯ) — ลายเซ็นจะถูกบันทึกผ่านเครื่องสแกนหรือกล้องบนอุปกรณ์แล้วนำไปเทียบกับลายเซ็นอ้างอิง หากมีการบันทึกเอกสารระบุตัวตน (ID) ด้วยเครื่องสแกนหรือกล้อง ลายเซ็นอ้างอิงจะถูกแยกออกจากรูปภาพบน ID เพื่อการตรวจสอบ
การตรวจสอบตัวตนในตู้คีออสบริการตนเอง — ลายเซ็นจะถูกบันทึกบนแผ่นลายเซ็นดิจิทัลหรือด้วยกล้องภายในตู้ เช่น ตู้เอทีเอ็มแบบอินเทอร์แอคทีฟ (ITM) จากนั้นเครื่องจะสแกนลายเซ็นเหล่านี้ แล้วนำไปตรวจเทียบกับลายเซ็นบนบัตรยืนยันตัวตน (เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง เป็นต้น)
การยืนยันตัวตนอัตโนมัติแบบมาด้วยตนเอง — ระบบจะสแกนเอกสารกระดาษที่มีลายเซ็นดังกล่าว (เช่น ใบสมัครบัตรเครดิตแบรนด์ร้านค้า) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับลายเซ็นใน ID ที่สแกนไว้แล้วโดยอัตโนมัติ หรืออีกทางหนึ่ง เจ้าของลายเซ็นดังกล่าวสามารถเซ็นด้วยตนเองลงบนแผ่นลายเซ็นดิจิทัล
การเข้ารหัสไบโอเมตริกของลายเซ็นบนบัตรประจำตัวประชาชน, บัตรเครดิต, บัตร และเอกสารอื่น ๆ ที่ต้องมีการยืนยันตัวตน — เมื่อมีคนยื่นขอใบขับขี่, หนังสือเดินทาง, บัตรเครดิต หรือ ID อื่นใด ลายเซ็นของบุคคลนั้นจะถูกบันทึกและเข้ารหัสในเอกสาร (ชิป, แถบแม่เหล็ก) ข้อมูลที่เข้ารหัสนี้สามารถอ่านและใช้สำหรับการยืนยันลายเซ็น ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลลายเซ็นอ้างอิง และมอบวิธีการยืนยันตัวตนที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ วิธีการนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีการเปิดเผยลายเซ็นอ้างอิง
ความแตกต่างของพาราสคริปต์

พาราสคริปต์ได้พัฒนาวิธีการและระบบการตรวจสอบลายเซ็นแบบอัตโนมัติที่ตรวจสอบตัวตนได้แม่นยำมาก โดยนวัตกรรมเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงสามารถประมวลผลลายเซ็นในรูปแบบต่าง ๆ (เส้นหรือภาพ) ได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องแปลงเป็นอินพุตประเภทเดียวกัน ซึ่งจะช่วยกำจัดสิ่งที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการใช้ระบบการตรวจสอบลายเซ็นอัตโนมัติสำหรับการยืนยันตัวตน และปรับปรุงความถูกต้องแม่นยำของการตรวจสอบลายเซ็น

พาราสคริปต์

ซอฟต์แวร์ล้ำสมัยของพาราสคริปต์ (Parascript) ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี โดยผนวกรวมเทคโนโลยี AI ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพาราสคริปต์เพื่อมอบโซลูชันการเก็บข้อมูลที่แข็งแกร่งโดยประมวลผลเอกสารได้ถูกต้องแม่นยำในระดับสูงสุด พาราสคริปต์มีประสบการณ์มากกว่าสามทศวรรษในการใช้ AI เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยสามารถทำให้กระบวนการด้านเอกสารเป็นไปโดยอัตโนมัติในฟอร์แมตแบบมีโครงสร้าง กึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งช่วยลดการใช้คนมาเกี่ยวข้องกับกระบวนการลงได้มาก พาราสคริปต์มีระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมไปรษณีย์, การจำนอง, การประมวลผลการชำระเงิน และกระบวนการอื่น ๆ อีกหลายร้อยรายการ

ติดต่อ: มาเรีย โคมิยามะ (Maria Komiyama), อีเมล: maria.komiyama@parascript.com

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1962748/Parascript_Logo_Vertical_Logo.jpg
แสดงผู้ตอบย้อนหลัง:   
หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ (Information & Service)
ตั้งกระทู้ใหม่  ตอบหัวข้อนี้
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1   

 
ไปยังหัวข้อ: