www.siamphone.com

Community

ดูเวอร์ชั่นปกติ

tontago

25 Oct 2015 22:04

กรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้พยายามใช้กฏหมู่หรือก่อม็อบ โดยไม่ยอมปล่อยคลื่น 900 Mhz. ให้กสทช.นำไปเปิดประมูลโดยอ้างว่า ทีโอที กำลังจะขาดทุนจากการไม่มีสัมปทาน แต่นั่นไม่ได้หมายถึง การเอาประชาชนอย่างเราๆ เป็นตัวประกัน

การเปิดประมูลจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับประชาชนที่จะได้มีโอกาสใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนได้ถูกลง จากการแข่งขันของภาคเอกชน
หยุดการผูกขาดทรัพยากรของชาติไว้กับหน่วยงานที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้รัฐอย่างแท้จริง

รายละเอียดรณรงค์ติดตามได้จากข้อมูล และลิงค์ด้านล่างนี้..

https://www.change.org/p/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%88%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%97

?สมบัติของชาติ อย่างคลื่นความถี่โทรคมนาคม ไม่ควรตกอยู่ในมือของใครคนใดคนหนึ่ง เว้นเสียแต่จะเป็นของประชาชน?

ทีโอที ทำเพื่อประชาชนจริงหรือไม่?
ก่อนอื่น หยุดมองปัญหาแบบการเมือง! ... ทีโอที และสหภาพฯ ต้องการดิ้นรนเอาตัวรอดจากการขาดทุนหลังจากหมดสัญญาสัมปทานและพยายามใช้ข้อกฎหมายแบบศรีธนชัย เพื่อตีความเข้าข้างตนว่ามีสิทธิ์ยึดคืน 900 Mhz มาบริหารต่อ ทั้งที่ พรบ. กสทช. ออกมาภายหลังมีเจตนารมณ์ เพื่อให้บริหารคลื่นซึ่งเป็นสมบัติของชาติอย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง โดย กสทช. มีนโยบายเพื่อเปิดประมูลและนำรายได้ส่งเข้ารัฐ โดยมีตัวอย่างหลังจากการประมูล 2100 Mhz. ครั้งแรกเพื่อทำ 3G มีผลให้ราคาค่าบริการเปลี่ยนไปดังนี้
- คลื่น 2100 Mhz. ทำ 3G/4G (เปิดประมูลโดย กสทช.) ราคาอยู่ที่ 0.84 บาท ต่อนาที
- คลื่น 1800 Mhz. (กำลังจะเปิดประมูลโดย กสทช.) ราคาอยู่ที่ 0.75 บาท ต่อนาที
- คลื่น 900 Mhz. (AIS ใต้สัมปทาน ทีโอที) ราคาอยู่ที่ 0.99 บาท ต่อนาที

ทำไม ทีโอที และสหภาพฯ อยากได้คลื่น 900 Mhz.?
เพราะการบริหารที่ร่อแร่.. รอคอยแต่ส่วนแบ่งรายได้จากการให้เอกชนสัมปทานคลื่นไปให้บริการมือถือแล้ว ทีโอทีเองซึ่งไร้ประสิทธิภาพด้านการบริหารทรัพยากรอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเมื่อขาดรายได้จากเอกชนที่หมดสัญญาสัมปทานไป เท่ากับ ทีโอที และสหภาพฯ ต้องขาดอากาศในการหายใจไปด้วย โบนัสที่เคยได้ คงต้องชวดกันยกคณะแน่คราวนี้ ทั้งๆ ที่ผลประกอบการที่ดีนั้นไม่ได้มาจากการบริหารของทีโอทีเลย แต่มาจากส่วนแบ่งรายได้ที่สูงมากๆ จากเอกชน

ทีโอที เจ้าแห่งทรัพยากรชาติ แต่ไม่เคยบริหารให้ได้ประโยชน์ จริงหรือไม่?
ปัจจุบันทีโอทีถือคลื่นความถี่อยู่ดังนี้

คลื่น 900 Mhz ให้สัมปทาน AIS หมดสัมปทานปี 2558
- รายได้ปี 54 = 21,793 ล้านบาท
- รายได้ปี 55 = 24,348 ล้านบาท
- รายได้ปี 56 = 22,002 ล้านบาท
- รายได้ปี 57 = 11,673 ล้านบาท (รายได้ลดลงเพราะลูกค้าย้ายไป AIS3G คลื่น 2100 Mhz ที่ประมูลได้)
**อ้างอิงข้อมูลรายได้จากรายงานประจำปีทีโอที http://www.tot.co.th/index.php?option=com_k2&view=itemlist&layout=category&task=category&id=69&Itemid=431&lang=th

คลื่น 2100 Mhz. จำนวน 15x2 Mhz ให้บริการ TOT 3G ปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 6 แสน ราย (ปี 57) ลงทุนทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท มีรายได้ 300 ล้านบาท ?โดยยอมรับว่าทำตลาดไม่เก่ง? อ้างอิง http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393298718

คลื่น 2300 Mhz จำนวน 64x1 Mhz (ว่างอีกเยอะ) สามารถใช้ทำ 4G TD-LTE ได้ โดย กสทช. เคยขอมาประมูลทำ 4G แต่ทีโอทีก็อ้างสิทธิ์ว่าเอาทำโทรศัพท์ทางไกล แต่แท้จริงแล้วไม่ได้ใช้อย่างเต็มประสิทธิ์ภาพเลย เพราะปัจจุบันเลี่ยงไปเช่าใช้คลื่นมือถือของภาคเอกชนที่ได้ลงทุนไปครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว

คลื่น 1900 Mhz จำนวน 15x1 Mhz สามาถใช้ทำ 4G TD-LTE ได้ เคยนำมาทำโทรศัพท์มือถือแต่ก็ล้มเหลว

470 Mhz ถือครอง แต่ยังไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์กับทีโอที

นอกจากนี้ทีโอที ยังมีโครงข่าย โทรศัพท์บ้าน (Fixed Line), โครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, โครงข่ายไฟเบอร์ออพติก (FTTx)
ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถพัฒนาเป็นบริการดีๆ ที่สร้างรายได้ให้กับทีโอทีมากมาย แต่ที่ผ่านทีโอที ซึ่งมีการบริหารงานที่ร่อแร่ ขาดประสิทธิภาพที่จะทำให้เกิดรายได้แก่องค์ ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้บริหารองค์กรมากความสามารถ แต่กลับไม่สามารถทำกำไรได้ กลับมีแต่รายจ่ายจำนวนมหาศาล ซึ่งถ้ารายได้จากสัมปทานหายไปจะทำให้ทีโอทีขาดทุนทันที แล้วทรัพยากรที่เหลือทำประโยชน์ใดๆ ไม่ได้เลยหรือ และนอกจากนี้ยังจะได้รับเสาสัญญาจาก AIS อีกเป็นหมื่นๆ ต้นจะหาประโยชน์อย่างไร ถ้าสิ่งที่ทีโอทีถือครอง อยู่กลับมาอยู่ในภาคเอกชนทั้งหมด รายได้จากภาษีของภาครัฐจะเพิ่มขึ้นเท่าใด แต่ปัจจุบันทีโอทีกลับทำให้ขาดทุน ซึ่งเราๆในฐานะประชาชนต้องแบกรับภาระหนี้เหล่านั้นเป็นหนี้สาธารณะ

ทีโอทีไม่ทราบหรือว่าใกล้หมดสัมปทาน?
เพราะการบริหารและการวางแผนที่ล้มเหลว จึงไม่เคยมีแผนที่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรเมื่อสัมปทานหมดลง จะเอาตัวรอดอย่างไร จะกำไรได้อย่างไร รอเล่นแง่ทางข้อกฎหมาย หน่วยงานเช่นนี้คงต้องรื้อองค์กรอย่างเร่งด่วน แต่ไม่ควรเอาประโยชน์ชาติและประชาชนมาเป็นตัวประกัน ถ้าทีโอที ยึดคลื่น 900 Mhz. ไว้ได้ แน่ใจได้อย่างไรว่าจะไม่ขาดทุนเหมือนเดิม หนี้ของคนไทยจะไม่สูงขึ้นจากการกระทำนี้

900 Mhz. ในมือทีโอที (ความฝัน)
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวกับพนักงานวันที่ 5 ต.ค.58 โดยสรุปใจความส่วนหนึ่ง
?หากทีโอที ได้คลื่นความถี่ 900 MHz มาให้บริการต่อ ทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้ปีละ 22,800 ล้านบาท จากการต่อยอดในย่านความถี่ดังกล่าว โดยเป้าหมายรายได้ที่คาดการณ์นั้นประกอบด้วย 1.การให้บริการลูกค้าระบบ 2G ที่มีลูกค้าค้างอยู่ 2.4 ล้านราย โดยคาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 4,800 ล้านบาทต่อปี และ 2.รายได้จาการโรมมิ่งบริการจาก 3G ของทีโอทีเองอีกปีละ 18,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทีโอทีสามารถเลี้ยงตัวเองได้?
อ้างอิง http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000111957

สรุปแบบชาวบ้าน
- ลูกค้าค้างอยู่ 2.4 ล้านเลขหมาย เขายังจะอยู่ต่อกันหรือ? เขาไม่ย้ายไปค่ายอื่นหรือ? ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทีโอทีเองเคยยอมรับว่า "ไม่เก่งการตลาด" แล้วปัจจุบันการตลาดดีขึ้นแล้วหรือยัง? สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้จริงหรือ?
- โรมมิ่ง 3G ใครจะใช้ของ TOT ของเดิมยังมีรายได้แค่ 300 ล้านบาท ทั้งที่ลงทุนไป 20,000 ล้านบาท

ข้อเสียถ้าคลื่น 900 Mhz. ไปอยู่กับทีโอที

- รัฐจะขาดรายได้จากการประมูล หลายหมื่นล้านบาท
- ถ้าไม่มีการประมูล การลงทุนในการสร้างโครงข่าย และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง อีกมหาศาลจะหายไป
- ตำแหน่งที่ต้องเพิ่มขึ้นตามอุตสาหกรรมจะหายไป
- รัฐต้องค้ำประกันทีโอที ในกรณีต้องลงทุนเพิ่มกับการขยายความสามารถคลื่น 900 Mhz. ทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นตามไปด้วย
- เกิดการกักตุนคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติชาติไว้กับหน่วยงานใดหน่วยหนึ่ง โดยไม่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

ด้วยเหตุผลเหล่านี้คงเพียงพอที่จะเชิญชวนพวกเราๆ ในฐานะประชาชนให้ร่วมกันเรียกร้องให้ทีโอที ยอมปล่อยคลื่น 900 Mhz. ป้องกันหนี้สินที่อาจจะพอกพูนในอนาคต ประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการได้มีโอกาสใช้ของดีราคาถูกจากการแข่งขันของภาคเอกชน

https://www.change.org/p/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%88%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%97

Read-only version.

หน้าแรกคอมมิวนิตี้ » Webboard - กระดานสนทนา มือถือ แท็บเล็ต
เรียกร้อง ทีโอที คืนคลื่น 900 Mhz. ให้เป็นประโยชน์ของประชาชนอย่าง

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1

 

บริการข้อมูลผ่านหน้าจอมือถือ